สรุปกฎหมายการศึกษา ในส่วนของการสอบครูผู้ช่วย วันนี้เราได้รวบรวมสรุปเนื้อหาเน้นๆ ให้ท่านเป็นจุดเน้น ซึ่งวิเคราะห์จากตัวอย่างข้อสอบในปีที่ผ่านๆมา เชิญอ่านและอย่าลืมจดและหาแบบทดสอบทำด้วยนะครับ
การจัดระเบียบราชการกระทรวงศึกษาธิการ
- ระเบียบบริหารราชการในส่วนกลาง
- ระเบียบบริหารราชการเขตพื้นที่การศึกษา
- ระเบียบบริหารราชการในสถานศึกษาของรัฐที่จัดการศึกษาระดับปริญญาที่เป็นนิติบุคคล แต่ไม่รวมถึงการจัดการศึกษาที่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของกระทรวงอื่นที่มีกฎหมายกำหนดไว้เป็นการเฉพาะ
การแบ่งส่วนราชการในส่วนกลางของศธ.

จำนวนและกรรมการที่ควรทราบ
=>คณะกรรมการสภาการศึกษา
- จำนวน 41 คน
- รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธาน
=>คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
- จำนวนไม่เกิน 27 คน
- ผู้ทรงคุณวุฒิเป็นประธาน
การบริหารและการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน
>> การบริหารและการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานให้ยึดเขตพื้นที่การศึกษาโดยคำนึงถึง
- ระดับของการศึกษาขั้นพื้นฐาน
- จำนวนสถานศึกษา
- จำนวนประชากร
- วัฒนธรรมและความเหมาะสมด้านอื่นด้วย
🔓 เว้นแต่การจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน ตามกฎหมายว่าด้วยการอาชีวศึกษา
การแบ่งส่วนราชการ
การแบ่งส่วนราชการภายในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
- ให้จัดทำเป็นประกาศกระทรวง
- โดยคำแนะนำของคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
การแบ่งส่วนราชการภายในสถานศึกษา
- ให้เป็นไปตามระเบียบที่คณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษา
หน่วยงานที่ กำกับ ดูแล จัดตั้ง ยุบ รวม หรือเลิกสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในเขตพื้นที่การศึกษาคือ
- คณะกรรมการศึกษาธิการจังหวัด(กศจ.)
คณะกรรมการสถานศึกษา ประกอบด้วย
- ผู้แทนผู้ปกครอง
- ผู้แทนครู
- ผู้แทนองค์กรชุมชน
- ผู้แทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
- ผู้แทนศิษย์เก่าของสถานศึกษา
- ผู้แทนพระภิกษุสงฆ์
- ผู้แทนองค์กรศาสนาอื่นในพื้นที่
- ผู้ทรงคุณวุฒิ
- ผู้บริหารสถานศึกษา
- เป็นกรรมการและเลขานุการของคณะกรรมการสถานศึกษา
- สถานศึกษาที่ไม่ต้องมีคณะกรรมการสถานศึกษา ได้แก่
- สถานพัฒนาเด็กปฐมวัย
- ศูนย์การเรียน
- สถานศึกษาขนาดเล็ก
- นักเรียนไม่เกิน 300 คน
- ให้มีกรรมการสถานศึกษา 9 คน
- สถานศึกษาขนาดใหญ่
- (นักเรียน 301 คน ขึ้นไป)
- ให้มีกรรมการสถานศึกษา 15 คน
กระจายอำนาจการบริหารและการจัดการศึกษาได้แก่
1.ด้านวิชาการ
2. ด้านงบประมาณ
3. ด้านการบริหารงานบุคคล
4. ด้านการบริหารทั่วไป
การมอบอำนาจ
- การมอบอำนาจ ให้ทำเป็นหนังสือ
- การมอบอำนาจโดยชอบแล้ว ผู้รับมีหน้าที่ต้องรับมอบอำนาจนั้นจะมอบให้แก่ผู้ดำรงตำแหน่งอื่นต่อไปไม่ได้
- การมอบอำนาจให้แก่ผู้ว่าราชการจังหวัด
- ผู้ว่าอาจจะมอบอำนาจต่อไปได้
ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
- อาจมอบอำนาจให้ตำแหน่งต่อไปนี้ตามลำดับ
- ข้าราชการในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
- ผู้อำนวยการสถานศึกษา
ผู้อำนวยการสถานศึกษา
- อาจมอบอำนาจให้
- ข้าราชการในสถานศึกษา
การรักษาราชการแทน
กรณีไม่มีผู้ดำรงตำแหน่งดังต่อไปนี้ให้สั่งการมอบหมายรักษาการแทนตามลำดับ
ผู้รักษาราชการแทน
ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
- รองสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
- ข้าราชการในเขตไม่ต่ำกว่าผู้อำนวยการสถานศึกษา
รักษาราชการแทน
ผู้อำนวยการสถานศึกษา
- รองผอ.สถานศึกษา
- ข้าราชการในสถานศึกษา
- คำสั่ง หัวหน้าคสช. ที่ 16/2560 โดยมาตรา 44 ให้ใช้คำว่ารักษาราชการในตำแหน่ง ซึ่งเปลี่ยนจากคำว่า รักษาราชการแทน นั่นเอง(มีผลเฉพาะตำแหน่ง ผู้อำนวยการสถานศึกษา)
แบบทดสอบกฎหมายการศึกษา 4 ชุด
คุณอาจสนใจเนื้อหาอื่นที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายการศึกษาซึ่ง บ้านของครูได้สรุปไว้ให้ได้แก่
เทคนิคการเตรียมสอบครูผู้ช่วย ตอน กฎหมายการศึกษา
5 จุดเน้นสอบครูผู้ช่วยที่ควรรู้ เกี่ยวกับพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ 2542
☑ หากคุณร่วมแลกเปลี่ยนเรามีกลุ่มตีแตกข้อสอบครูผู้ช่วย มีความลับแนวข้อสอบดีๆ ให้ฟรี
✪ ตีแตก ข้อสอบครูผู้ช่วย MR.KRON
▶ ช่องทางการติดตาม
📌 facebook บ้านของครู MR.KRON
📌 YOUTUBE บ้านของครู MR.KRON
📌 Line official
ถ้าหากอยากสนับสนุน
บ้านของครู MR.KRON
สามารถเลี้ยงกาแฟพวกเราได้ที่ บัญชีพร้อมเพย์ด้านล่างนี้นะครับ
พร้อมเพย์ 095-1753111

ขอบคุณสำหรับการสนับสนุน เพื่อเป็นกำลังใจให้สร้างสรรค์ต่อไป