ครูหลายคนกำลังเกิดความสับสนมากในการพัฒนาวิชาชีพในการเลื่อนวิทยฐานะระห่างแบบเก่าและแบบใหม่ เพราะว่าเกณฑ์เก่ายังใช้ไม่ถึงไหน ของใหม่ก็มาซะแล้ววันนี้ทางบ้านของครู จึงได้ ตีแผ่เรื่องระยะเวลาและแนวทางเพื่อให้ผู้ที่กำลังเตรียมประเมินวิทยฐานะครูได้ ศึกษาเป็นแนวทางต่อไป

เส้นทางการทำวิทยฐานะแบบของครู
วิทยฐานครูชำนาญการ
แบบเดิม
- เวลาที่ใช้คือ 7 ปี
- ใช้เวลาในการเป็นครูผู้ช่วย 2 ปี โดยต้องผ่านการประเมินการเตรียมความและพัฒนาอย่างเข้ม
- ใช้เวลาในการเป็นครู 5 ปี รวมแล้วก็เป็น 7 ปีพอดี
แบบใหม่
เวลาที่ใช่แบ่งเป็น 2 กรณีได้แก่
- กรณีที่ 1 ใช้เวลา 6 ปี ได้แก่
- เป็นตำแหน่งครูผู้ช่วย 2 ปี โดยต้องผ่านการประเมินการเตรียมความและพัฒนาอย่างเข้ม
- ใช้เวลาในการเป็นตำแหน่งครูไม่น้อยกว่า 4 ปี รวมแล้วก็เป็น 6 ปี
- กรณีที่ 2 ใช้เวลา 3 ปี ได้แก่
- เป็นครูผู้ช่วย 2 ปี โดยต้องผ่านการประเมินการเตรียมความและพัฒนาอย่างเข้ม
- ใช้เวลา 3 ปีลดลงจาก 4 ปีโดยเป็นผู้ที่มีคุณสมบัติตามเงื่อนไขที่ ก.ค.ศ. และผ่านการประเมินตามหลักเกณฑ์ที่ ก.ค.ศ.กำหนด
วิทยฐานครูชำนาญการพิเศษ
แบบเดิม
- ใช้เวลานับจากการมีวิทฐานะเป็นครูชำนาญการ 5 ปี
แบบใหม่
เวลาที่ใช่แบ่งเป็น 2 กรณีได้แก่
- กรณีที่ 1 ใช้เวลา 4 ปี ได้แก่
- ใช้เวลาไม่น้อยกว่า 4 นับจากได้เป็นครูชำนาญการ
- กรณีที่ 2 ใช้เวลา 3 ปี ได้แก่
- ใช้เวลา 3 ปีลดลงจาก 4 ปีโดยเป็นผู้ที่มีคุณสมบัติตามเงื่อนไขที่ ก.ค.ศ. และผ่านการประเมินตามหลักเกณฑ์ที่ ก.ค.ศ.กำหนด
วิทยฐานครูเชี่ยวชาญ
แบบเดิม
- ใช้เวลานับจากการมีวิทฐานะเป็นครูชำนาญการพิเศษ 5 ปี
แบบใหม่
เวลาที่ใช่แบ่งเป็น 2 กรณีได้แก่
- กรณีที่ 1 ใช้เวลา 4 ปี ได้แก่
- ใช้เวลาไม่น้อยกว่า 4 นับจากได้เป็นครูชำนาญการพิเศษ
- กรณีที่ 2 ใช้เวลา 3 ปี ได้แก่
- ใช้เวลา 3 ปีลดลงจาก 4 ปีโดยเป็นผู้ที่มีคุณสมบัติตามเงื่อนไขที่ ก.ค.ศ. และผ่านการประเมินตามหลักเกณฑ์ที่ ก.ค.ศ.กำหนด
วิทยฐานครูเชี่ยวชาญพิเศษ
แบบเดิม
- ใช้เวลานับจากการมีวิทฐานะเป็นครูเชี่ยวชาญ 5 ปี
แบบใหม่
เวลาที่ใช่แบ่งเป็น 2 กรณีได้แก่
- กรณีที่ 1 ใช้เวลา 4 ปี ได้แก่
- ใช้เวลาไม่น้อยกว่า 4 นับจากได้เป็นครูเชี่ยวชาญ
- กรณีที่ 2 ใช้เวลา 3 ปี ได้แก่
- ใช้เวลา 3 ปีลดลงจาก 4 ปีโดยเป็นผู้ที่มีคุณสมบัติตามเงื่อนไขที่ ก.ค.ศ. และผ่านการประเมินตามหลักเกณฑ์ที่ ก.ค.ศ.กำหนด
สำหรับเงื่อนไขที่ ก.ค.ศ. กำหนดในการดำรงตำแหน่งหรือการดำรงวิทยฐานะจาก 4 ปี เหลือ 3 ปี ต้องอยู่ภายใต้เงื่อนไข ตามข้อใดข้อหนึ่ง ดังนี้
- เป็นผู้มีความสามารถทางภาษาต่างประเทศ ซึ่งจะเทียบกับเกณฑ์ผลการทดสอบ CEFR ที่คุรุสภาได้กำหนดหลักเกณฑ์ไว้ในการประเมินสมรรถนะทางวิชาชีพครูฯ
- เป็นผู้ปฏิบัติงานในพื้นที่พิเศษ (พื้นที่เกาะ ภูเขาสูง พื้นที่มีความเสี่ยงต่อความมั่นคงของประเทศ)
- เป็นผู้พัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง (การได้รับวุฒิการศึกษาที่สูงขึ้น)
- เป็นผู้ผ่านการประเมินสมรรถนะตามกรอบคุณวุฒิอาชีพ จากสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ
นอกจากเงื่อนไขข้อใดข้อหนึ่งดังกล่าวแล้ว
ต้องมีผลการประเมินการเลื่อนเงินเดือนระดับดีเด่น
4 รอบการประเมินติดต่อกันด้วย
บทสรุป
- สำหรับเกณฑ์เดิมต้องใช้เวลา ถึง 22 ปี นับจากการเป็นครูผู้ช่วยจนถึง ครูเชี่ยวชาญพิเศษ
- สำหรับเกณฑ์ใหม่มี 2 กรณีได้แก่
- แบบปกติใช้เวลา 18 ปีรวมการเป็นครูผู้ช่วย
- แบบพิเศษสำหรับผู้มีเงื่อนไขตามที่ ก.ค.ศ.กำหนด คือ 14 ปี
ถือว่าเป็นสิ่งที่ท้าทายในวิชาชีพครู และเส้นทางการพัฒนาตนเองเพื่อให้มีวิทยฐานะที่สูงขึ้น โดยอยากฝากให้ผู้ที่มีอำนาจในการออกนโยบายและเกณฑ์ต่างๆ ไม่ควรสร้างให้ครูต้องเครียดทำสิ่งเหล่านี้มากจนเกินไป จนไม่มีเวลาในการทุ่มเทการสอนอย่างเต็มที่ เพราะการคิดนโยบายในห้องแอร์แบบที่ผ่านๆ ทางเพจบ้านของครู ก็คิดได้เหมือนกันครับ ผมว่าไม่ยากเลยคิดทั้งวันก็ได้ แต่การที่จะทำแล้วได้ผลจริงๆนั้นยาก โรงเรียนแต่ละโรงเรียนบริบทมันต่างกัน นักเรียนแต่ละที่ก็ต่างกัน