มาตรการการป้องกัน PM 2.5 ของกระทรวงศึกษาธิการ ศูนย์อำนวยการช่วยเหลือสถานศึกษาประสบภัยพิบัติ  ซึ่งตั้งอยู่ที่สำนักงานศึกษาธิการจังหวัด ทุกจังหวัด  ทำหน้าที่เป็นศูนย์ประสานงานเพื่อเฝ้าระวังและติดตามสถานการณ์ปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 ในส่วนภูมิภาค  

เพิ่มเพื่อน

พร้อมทั้งกำหนดมาตรการเพื่อให้หน่วยงาน และสถานศึกษา ใช้เป็นแนวทางการปฏิบัติ ประกอบด้วย

1.มาตรการเร่งด่วน

1.1 ศูนย์ประสานงานฯ ทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาค

เฝ้าระวัง และติดตามสถานการณ์ปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 และแจ้งเตือนไปยังหน่วยงานและสถานศึกษาในจังหวัด เพื่อเตรียมความพร้อม และดำเนินการตามมาตรการที่กำหนด

1.2 หน่วยงานที่กำกับดูแลสถานศึกษาทั้งของรัฐและเอกชน

และสถานศึกษา ติดตามสถานการณ์ และตรวจสอบคุณภาพอากาศประเทศไทยทางเว็บไซต์ air4thai.pcd.go.th หรือแอปพลิเคชัน Air4thai ของกรมควบคุมมลพิษ เป็นประจำทุกวัน หากพบว่าคุณภาพอากาศอยู่ในเกณฑ์มีผลกระทบต่อสุขภาพให้พิจารณาเปิด – ปิดสถานศึกษา ตามระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยปีการศึกษา การเปิดและปิดสถานศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๙

มาตรการการป้องกัน  PM 2.5 ของกระทรวงศึกษาธิการ

1.3 หน่วยงานและสถานศึกษาที่ตั้งอยู่ในพื้นที่คุณภาพอากาศอยู่ในเกณฑ์เกินมาตรฐาน เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ (สีส้ม) หรือมีผลกระทบต่อสุขภาพ (สีแดง) ดำเนินการ ดังนี้

– นักเรียน นักศึกษา ผู้บริหาร ครู อาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา สวมหน้ากากอนามัย ในกรณีที่สถานศึกษามีหน้ากากอนามัยไม่เพียงพอให้ประสานกับศูนย์อำนวยการช่วยเหลือสถานศึกษาประสบภัยพิบัติ กระทรวงศึกษาธิการ จังหวัด เพื่อขอรับการสนับสนุน

– หลีกเลี่ยงการจัดกิจกรรมกลางแจ้ง

– ป้องกันและลดการเกิดมลพิษทางอากาศที่ต้นทาง (แหล่งกำเนิด) เช่น ปัญหาจากการเผาในที่โล่ง การก่อสร้าง การทำงานของเครื่องจักร เป็นต้น

1.4 หน่วยงานและสถานศึกษา ประชาสัมพันธ์สื่อองค์ความรู้และนวัตกรรม

เกี่ยวกับแนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 ผ่านช่องทางต่าง ๆ รวมทั้งทางสื่อออนไลน์ และเว็บไซต์ เพื่อสร้างการรับรู้ให้เกิดความเข้าใจ และนำไปป้องกันและแก้ไขปัญหา รวมทั้งดูแลสุขภาพได้อย่างถูกต้อง  

1.5 หน่วยงาน สถานศึกษา และบุคลากรทางการศึกษา เข้มงวดในการดูแลและบำรุงรักษาเครื่องยนต์

ตรวจสอบรถยนต์ในสังกัด และรถยนต์ส่วนบุคคล โดยเฉพาะรถยนต์ที่ใช้เครื่องยนต์ดีเซลอย่างสม่ำเสมอ

1.6 สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ผลิตหน้ากากอนามัย

โดยจัดส่งให้ศูนย์อำนวยการช่วยเหลือสถานศึกษาประสบภัยพิบัติ กระทรวงศึกษาธิการ …… ทุกจังหวัด  เพื่อจัดสรรให้กับสถานศึกษา  ที่อยู่ในพื้นที่คุณภาพอากาศอยู่ในเกณฑ์เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ (ส้ม) และมีผลกระทบต่อสุขภาพ (แดง) รวมทั้งผลิตเครื่องพ่นละอองน้ำ พร้อมติดตั้งในพื้นที่คุณภาพอากาศอยู่ในเกณฑ์ ที่มีผลกระทบต่อสุขภาพ

1.7 สถานศึกษาในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชนที่มีความพร้อม ติดตั้งเครื่องพ่นละอองน้ำในพื้นที่คุณภาพอากาศอยู่ในเกณฑ์ที่มีผลกระทบต่อสุขภาพ

1.8 หน่วยงานต้นสังกัดติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด และลงพื้นที่ให้การช่วยเหลือสถานศึกษาในสังกัดอย่างเร่งด่วน

โดยบูรณาการความช่วยเหลือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเป็นรูปธรรมตามความเหมาะสม

2. มาตรการระยะยาว

2.1 หน่วยงานและสถานศึกษาลดหรือเลี่ยงการจัดกิจกรรมที่มีกลุ่มคนจำนวนมาก และในพื้นที่คุณภาพอากาศอยู่ในเกณฑ์เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพและมีผลกระทบต่อสุขภาพ

2.2 หน่วยงานและสถานศึกษารณรงค์ให้นักเรียน นักศึกษา ผู้บริหาร ครู อาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา เดินทางโดยระบบขนส่งมวลชน แทนการใช้รถยนต์ส่วนตัวหรือวางแผนการเดินทางโดยใช้รถยนต์ร่วมกัน

2.3 หน่วยงานและสถานศึกษาส่งเสริมการสร้างเครือข่ายนักเรียน นักศึกษา ลูกเสือ เนตรนารี ยุวกาชาด นักศึกษาวิชาทหาร จิตอาสา เพื่อร่วมรณรงค์การป้องกัน เฝ้าระวัง แก้ไขปัญหาฝุ่นละอองในสถานศึกษาตามความเหมาะสม

2.4 หน่วยงานและสถานศึกษา รณรงค์และสร้างแรงจูงใจให้ดำเนินกิจกรรมที่เกี่ยวกับการดูแลรักษาต้นไม้ รวมถึงการเพิ่มและจัดการพื้นที่สีเขียวอย่างยั่งยืน

มาตรการการป้องกัน  PM 2.5 ของกระทรวงศึกษาธิการ

2.5 หน่วยงานและสถานศึกษากำหนดมาตรฐานสิ่งแวดล้อมในสถานศึกษา โดยแต่งตั้งคณะกรรมการกำหนดค่ามาตรฐานความปลอดภัยเกี่ยวกับมลพิษในสถานศึกษา เช่น อากาศ น้ำ เสียง ขยะ ฯลฯ และให้มีการประเมินเป็นประจำทุกปี เพื่อการรับรองเป็นสถานศึกษาปลอดภัย

2.6 หน่วยงานและสถานศึกษาจัดทำคู่มือการเรียนการสอนว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและข้อควรปฏิบัติในการร่วมกันลดโลกร้อน รวมทั้ง จัดทำหน่วยการเรียนรู้เกี่ยวกับฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 ในทุกระดับชั้น

2.7 สถานศึกษาจัดการเรียนการสอนในเรื่องที่เกี่ยวกับการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อม การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ รวมถึง สาเหตุและผลกระทบที่เกิดขึ้น เพื่อให้เกิดความตระหนักรู้ จิตสำนึกที่ดี และมีส่วนร่วมในการควบคุม ป้องกัน แก้ไข และลดปัญหา นำไปสู่ความผาสุกและคุณภาพชีวิตที่ดีอย่างยั่งยืน

2.8 ศูนย์ประสานงานฯ ทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาคสร้างเครือข่ายความร่วมมือที่เข้มแข็งกับกระทรวง หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐ เอกชน และประชาสังคม ในการเผยแพร่ ประชาสัมพันธ์ และถ่ายทอดองค์ความรู้ รวมถึงการป้องกัน แก้ไขปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 และการดูแลสุขภาพ

2.9 หน่วยงานปรับแผนปฏิบัติราชการประจำปี ด้านการสร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยให้เน้นการดูแลคุณภาพสิ่งแวดล้อม

2.10 หน่วยงานที่เกี่ยวข้องส่งเสริมการผลิตและพัฒนานวัตกรรมเพื่อลดมลพิษทางอากาศ

2.11 หน่วยงานที่เกี่ยวข้องประเมินผลการดำเนินการเพื่อถอดบทเรียนการแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5

          จึงประกาศให้ทราบโดยทั่วกัน

                             ประกาศ ณ วันที่  22 มกราคม พ.ศ. 2563

                                                          (นายประเสริฐ  บุญเรือง)
                                                         ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ

มาตรการการป้องกัน  PM 2.5 ของกระทรวงศึกษาธิการ
ความรอบรู้
เพิ่มเพื่อน