สรุปนโยบายการจัดการศึกษา ,นโยบายการศึกษา2564 ,นโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ 2564 ,นโยบายการศึกษา 2564 ,
สรุปนโยบายการจัดการศึกษา ,นโยบายการศึกษา2564 ,นโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ 2564 ,นโยบายการศึกษา 2564 ,
- Advertisement -

สรุปนโยบายการจัดการศึกษา ของนางสาวตรีนุช เทียนทอง ซึ่งเข้ารับตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ 29 มีนาคม 2564 เป็นนโยบายการศึกษาใหม่ โดยทางบ้านของครู MR.KRON ได้สรุปย่อในแบบที่อ่านเข้าใจง่ายและครบถ้วนทุกประเด็น

สรุปย่อประเด็น
การเปลี่ยนแปลงกระทรวงศึกษาธิการ

=>รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการคนปัจจุบัน 2564 คือ
– นางสาวตรีนุช เทียนทอง
เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ คนที่ 55
– เข้ารับตำแหน่ง 29 มีนาคม 2564

=>พวกเราจะต้องสร้าง “ความเชื่อมั่น ไว้วางใจ” หรือ “TRUST” ให้กับสังคมเป็นคำแถลงของ
– นางสาวตรีนุช เทียนทอง(รมว.ศธ)

=>“TRUST” คืออะไร
– TRUST หมายถึง ความไว้วางใจ
– เป็นรูปแบบการทำงานที่จะทำให้ครู บุคลากรทางการศึกษา ผู้ปกครอง ผู้เรียน และประชาชน กลับมาให้ความไว้วางใจในการทำงานของกระทรวงศึกษาธิการอีกครั้ง

=>คำว่า “TRUST” ย่อมาจากอะไร

T ย่อมาจาก Transparency (ความโปร่งใส)

R ย่อมาจาก ย่อมาจาก Responsibility (ความรับผิดชอบ)

U ย่อมาจาก Unity (ความเป็นอันหนึ่งอันเดียว)

S ย่อมาจาก Student-Centricity (ผู้เรียนเป็นเป้าหมายแห่งการพัฒนา)

T ย่อมาจาก Technology (เทคโนโลยี)

=>รูปแบบการทำงาน “TRUST”
– เป็นการพัฒนาต่อยอดจากรูปแบบการทำงาน “MOE ONE TEAM”
– MOE ONE TEAM คือ การทำงานร่วมกันเป็นหนึ่งเดียวของกระทรวงศึกษาธิการ

สรุปนโยบาย
การจัดการศึกษา 2564

นโยบายการจัดการศึกษา 12 ข้อ

ข้อ 1 การปรับปรุงหลักสูตรและกระบวนการเรียนรู้ให้ทันสมัย และทันการเปลี่ยนแปลงของโลกในศตวรรษที่ 21

=> มุ่งพัฒนาผู้เรียนทุกระดับการศึกษาให้มี
– ความรู้
– ทักษะ
– คุณลักษณะที่เหมาะสมกับบริบทสังคมไทย

ข้อ 2 การพัฒนาคุณภาพและประสิทธิภาพครูและอาจารย์ในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานและอาชีวศึกษาให้มีสมรรถนะทางภาษาและดิจิทัล

=>เพื่อให้ครูและอาจารย์ได้รับการพัฒนาให้มีสมรรถนะทั้ง
– ด้านการจัดการเรียนรู้ ด้วยภาษาและดิจิทัล
– สามารถปรับวิธีการเรียนการสอนและการใช้สื่อทันสมัย
– มีความรับผิดชอบต่อผลลัพธ์ทางการศึกษาที่เกิดกับผู้เรียน

ข้อ 3 การปฏิรูปการเรียนรู้ด้วยดิจิทัลผ่านแพลตฟอร์มการเรียนรู้ด้วยดิจิทัลแห่งชาติ (NDLP) และการส่งเสริมการฝึกทักษะดิจิทัลในชีวิตประจำวัน

=>เพื่อให้มีหน่วยงานรับผิดชอบพัฒนา
– แพลตฟอร์มการเรียนรู้ด้วยดิจิทัลแห่งชาติ
– ที่สามารถนำไปใช้ในกระบวนการจัดการเรียนรู้ที่ทันสมัยและ
– เข้าถึงแหล่งเรียนรู้ได้อย่างกว้างขวางผ่านระบบออนไลน์

=>มีการนำฐานข้อมูลกลางทางการศึกษา
– มาใช้ประโยชน์ในการพัฒนาประสิทธิภาพการบริหารและการจัดการศึกษา

ข้อ 4 การพัฒนาประสิทธิภาพการบริหารและการจัดการศึกษา

=>โดยการส่งเสริมสนับสนุนสถานศึกษาให้มี
– ความเป็นอิสระและคล่องตัว

=>การกระจายอำนาจการบริหารและการจัดการศึกษา
– โดยใช้จังหวัดเป็นฐาน
– โดยอาศัยอำนาจตามกฎหมายการศึกษาแห่งชาติ

=>การจัดโครงสร้างหน่วยงานให้เอื้อต่อการจัดการเรียนการสอนให้มีคุณภาพ
– สถานศึกษาให้มีความเป็นอิสระและคล่องตัว

=>การบริหารและการจัดการศึกษาโดยใช้จังหวัดเป็นฐาน
– มีระบบการบริหารงานบุคคลโดยยึดหลักธรรมาภิบาล


ข้อ 5 การปรับระบบการประเมินผลการศึกษาและการประกันคุณภาพ

=>จัดทดสอบวัดความรู้ และทักษะที่จำเป็นในการศึกษาต่อ
– ระดับอุดมศึกษา
– ทั้งสายวิชาการและสายวิชาชีพ
– เพื่อให้ระบบการประเมินผลการศึกษาทุกระดับ
– ระบบการประกันคุณภาพการศึกษา ได้รับการปรับปรุงให้ทันสมัย ตอบสนองผลลัพธ์ทางการศึกษาได้อย่างเหมาะสม

ข้อ 6 การจัดสรรและการกระจายทรัพยากรให้ทั่วถึงทุกกลุ่มเป้าหมาย

=> การระดมทรัพยากรทางการศึกษาจากความร่วมมือทุกภาคส่วน
– เพื่อให้การจัดสรรทรัพยากรทางการศึกษามีความเป็นธรรม
– สร้างโอกาสให้กลุ่มเป้าหมายได้เข้าถึงการศึกษาที่มีคุณภาพทัดเทียมกลุ่มอื่นๆ
– กระจายทรัพยากรทั้งบุคลากรทางการศึกษา งบประมาณและสื่อเทคโนโลยีได้อย่างทั่วถึง

ข้อ 7 การนำกรอบคุณวุฒิแห่งชาติ (NQF) และกรอบคุณวุฒิอ้างอิงอาเซียน (AQRP) สู่การปฏิบัติ

=> เป็นการผลิตและการพัฒนากำลังคน
– เพื่อการพัฒนาประเทศโดยใช้กรอบคุณวุฒิแห่งชาติ เชื่อมโยงระบบการศึกษาและการอาชีพ
– ใช้กลไกการเทียบโอนประสบการณ์ด้วยธนาคารหน่วยกิต
– การจัดทำมาตรฐานอาชีพในสาขาที่สามารถอ้างอิงอาเซียนได้

ข้อ 8 การพัฒนาเด็กปฐมวัยให้ได้รับการดูแลและพัฒนาก่อนเข้ารับการศึกษา

– เพื่อพัฒนาร่างกาย จิตใจวินัย อารมณ์ สังคม และสติปัญญาให้สมกับวัย
– เพื่อเป็นการขับเคลื่อนแผนบูรณาการการพัฒนาเด็กปฐมวัยตามพระราชบัญญัติการพัฒนาเด็กปฐมวัย พ.ศ. 2562 สู่การปฏิบัติเป็นรูปธรรม โดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำไปเป็นกรอบในการจัดทำแผนปฏิบัติการเพื่อพัฒนาเด็กปฐมวัย
– มีการติดตามความก้าวหน้าเป็นระยะ

ข้อ 9 การศึกษาเพื่ออาชีพและสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ

=> เพื่อให้ผู้จบการศึกษาระดับปริญญาและอาชีวศึกษา
– มีอาชีพและรายได้ที่เหมาะสมกับการดำรงชีพและคุณภาพชีวิตที่ดี
– มีส่วนช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันในเวทีโลกได้

ข้อ 10 การพลิกโฉมระบบการศึกษาไทยด้วยการนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาใช้ในการจัดการศึกษาทุกระดับการศึกษา

=>ให้สถาบันการศึกษาทุกแห่งนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีที่ทันสมัย
– มาใช้ในการจัดการศึกษาผ่านระบบดิจิทัล

ข้อ 11 การเพิ่มโอกาสและการเข้าถึงการศึกษาที่มีคุณภาพของกลุ่มผู้ด้อยโอกาสทางการศึกษา และผู้เรียนที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษ

=> เป็นการเพิ่มโอกาสและการเข้าถึงการศึกษาที่มีคุณภาพของ
– กลุ่มผู้ด้อยโอกาสทางการศึกษา
– ผู้เรียนที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษ

ข้อ 12 การจัดการศึกษาในระบบ นอกระบบ และตามอัธยาศัย

=> ยึดหลักการเรียนรู้ตลอดชีวิตและการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง
– เพื่อเพิ่มโอกาสและการเข้าถึงการศึกษาที่มีคุณภาพของกลุ่มผู้ด้อยโอกาสทางการศึกษาและผู้เรียนที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษ

วาระเร่งด่วน
ของกระทรวงศึกษาธิการ

วาระที่ 1 เรื่องความปลอดภัยของผู้เรียน

=>จัดให้มีรูปแบบ วิธีการ หรือกระบวนการในการดูแลช่วยเหลือนักเรียน
– เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อย่างมีคุณภาพ มีความสุข
– ได้รับการปกป้องคุ้มครองความปลอดภัยทั้งด้านร่างกายและจิตใจ
– การสร้างทักษะให้ผู้เรียนมีความสามารถในการดูแลตนเองจากภัยอันตรายต่างๆ ท่ามกลางสภาพแวดล้อมทางสังคม

วาระที่ 2 หลักสูตรฐานสมรรถนะ

=> มุ่งเน้นการจัดการเรียนรู้ที่หลากหลาย
– ยึดความสามารถของผู้เรียนเป็นหลัก
– พัฒนาผู้เรียนให้เกิดสมรรถนะที่ต้องการ

วาระที่ 3 Big Data

=>พัฒนาการจัดเก็บข้อมูลอย่างเป็นระบบและไม่ซ้ำซ้อน
– เพื่อให้ได้ข้อมูลภาพรวมการศึกษาของประเทศที่มีความครบถ้วน สมบูรณ์ ถูกต้องเป็นปัจจุบัน
– สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้อย่างแท้จริง

วาระที่ 4 ขับเคลื่อนศูนย์ความเป็นเลิศทางการอาชีวศึกษา(Excellent Center)

=>สนับสนุนการดำเนินงานของศูนย์ความเป็นเลิศทางการอาชีวศึกษา (Excellent Center) ตามความเป็นเลิศของแต่ละสถานศึกษาและตามบริบทของพื้นที่
– สอดคล้องกับความต้องการของประเทศทั้งในปัจจุบันและอนาคต

=> มีการจัดการเรียนการสอนด้วยเครื่องมือที่ทันสมัย
– สอดคล้องกับเทคโนโลยีปัจจุบัน

วาระที่ 5 พัฒนาทักษะทางอาชีพ

=>ส่งเสริมการจัดการศึกษาที่เน้นพัฒนาทักษะอาชีพของผู้เรียน
– เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต สร้างอาชีพและรายได้ที่เหมาะสม
– เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ

วาระที่ 6 การศึกษาตลอดชีวิต

=> การจัดเรียนรู้ตลอดชีวิตสำหรับประชาชนทุกช่วงวัย
– ให้มีคุณภาพและมาตรฐาน

=> ประชาชนในแต่ละช่วงวัย
– ได้รับการศึกษาตามความต้องการอย่างมีมาตรฐาน
– เหมาะสมและเต็มตามศักยภาพตั้งแต่วัยเด็กจนถึงวัยชรา
– พัฒนาหลักสูตรที่เหมาะสมเพื่อเตรียมความพร้อมในการเข้าสู่สังคมผู้สูงวัย

วาระที่ 7 การจัดการศึกษาสำหรับผู้ที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษ

=> ส่งเสริมการจัดการศึกษาให้ผู้ที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษ
– ได้รับการพัฒนาอย่างเต็มศักยภาพ
– สามารถดำรงชีวิตในสังคมอย่างมีเกียรติ ศักดิ์ศรีเท่าเทียมกับผู้อื่นในสังคม
– สามารถช่วยเหลือตนเองและมีส่วนร่วมในการพัฒนาประเทศ

บทสรุป

สำหรับเรื่องนโยบายการศึกษา2564 ของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการคนใหม่ ที่ผมสรุปให้น้องๆว่าที่ครูผู้ช่วยก็เป็นส่วนที่ย่อยและเรียบเรียงโดยมี 12 นโยบาย และ 7 วาระเร่งด่วนของกระทรวงศึกษาธิการ นอกจากการจำตัวเลขของนโยบาย และชื่อนโยบายและวาระต่าง ยังต้องดูรายละเอียดย่อย ซึ่งข้อสอบครูผู้ช่วยบางบีก็ถามลึกถึงรายละเอียด จึงไม่ควรอ่านข้าม ขอให้โชคดีในการสอบจ้า

ถ้าหากอยากสนับสนุน
บ้านของครู MR.KRON
สามารถเลี้ยงกาแฟพวกเราได้ที่ พร้อมเพย์ด้านล่างนี้นะครับ

พร้อมเพย์ 095-1753111

ขอบคุณสำหรับการสนับสนุน เพื่อเป็นกำลังใจให้สร้างสรรค์ต่อไป


- Advertisement -