สรุปจิตวิทยาการศึกษา , สรุปจิตวิทยาพัฒนาการ , สรุปจิตวิทยาการศึกษา , จิตวิทยาการศึกษา , สอบครูผู้ช่วย , สอบรับราชการครู
- Advertisement -

จิตวิทยาการศึกษาในการสอบรับราชการครู ทุกสังกัด สรุปรวมไว้ให้แล้วในหน้านี้ ทั้งข้อสอบจริงย้อนหลังแทรกประกอบเพื่อให้ ว่าที่ครูผู้ช่วยที่กำลังอ่านหนังสือเกี่ยวกับ จิตวิทยา และติดตาม เพจ บ้านของครู MR.KRON ได้อ่านกันแบบอัดแน่น โดยที่ไม่ต้องไปเสียเงินติวที่ไหนเลย ครบแล้วครับ

ความหมายของจิตวิทยา
(Psychology)

จิตวิทยา คืออะไร

จิตวิทยา คือ ศาสตร์ที่ศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรม และกระบวนการของจิต โดยอาศัยวิธีการเชิงวิทยาศาสตร์ในการค้นหาความรู้

จากความหมายของวิชาจิตวิทยา จะเห็นได้ว่า มีคำสำคัญอยู่ 3 คำ ได้แก่
1.พฤติกรรม(Behavior)
2.กระบวนการทางจิต(Mental Process)
3.การศึกษาเชิงวิทยาศาสตร์(Scientific Study)

เจาะลึกคำสำคัญที่เป็นความหมายของจิตวิทยา

1.พฤติกรรม คืออะไร

พฤติกรรม หมายถึง
– การกระทำหรือการแสดงออกที่สามารถสังเกตได้หรือไม่ก็ตามหรือโดยเจ้าตัวจะรู้ตัวหรือไม่รู้ตัว
ตัวอย่างของพฤติกรรม การพูด การเดิน การหัวเราะ การเต้นของหัวใจ ความคิด เป็นต้น

พฤติกรรมอาจแบ่งออกได้ 2 ประเภท

1) พฤติกรรมภายนอก (Overt Behavior)
– เป็นการกระทำที่แสดงออกมาให้สังเกตเห็นได้ รับรู้ได้
– ใช้เครื่องมือตรวจสอบได้พฤติกรรมภายนอกมี 2 ลักษณะคือ
(1) โมลาร์ (Molar) คือ สังเกตเห็นได้ด้ายตาเปล่า เช่น การนั่ง การนอน การยืน ฯลฯ
(2)โมเลคิวลาร์ (Molecular) คือ ใช้เครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ตรวจสอบ เช่น คลื่นสมอง คลื่นหัวใจ ความดันโลหิต เป็นต้น

2) พฤติกรรมภายใน(Covert Behavior)
– เรียกอีกอย่างก็คือ ความในใจ
– เป็นพฤติกรรมที่เจ้าตัวเท่านั้นจึงจะรู้ดี
– ถ้าไม่บอกใคร ไม่แสดงออกก็ไม่มีใครรู้ได้ดี
ตัวอย่าง การจำ ความคิด จินตนาการ การฝัน เป็นต้น

ประเด็นข้อสอบจริง(บ้านของครู MR.KRON)

->(ข้อสอบจริงครูสพฐ. 63)
ข้อใดคือพฤติกรรมภายใน
ตอบ ความคิด ความรู้สึก


2. กระบวนการทางจิต คืออะไร

กระบวนการของจิต หมายถึง
– กระบวนการที่เกิดขึ้นภายในสมองของบุคคล หรืออินทรีย์(Organism)
– ไม่สามารถสังเกตได้โดยตรง
– ต้องอาศัยเครื่องมือบางอย่างเพื่อที่จะศึกษากระบวนการเหล่านี้ เช่น การฝันต้องอาศัยเครื่องมือวัดคลื่นสมอง ความจำต้องอาศัยการทดสอบ เป็นต้น
>> ตัวอย่าง ได้แก่ การรับรู้ การคิด การจำ การลืม ฯลฯ

3. การศึกษาเชิงวิทยาศาสตร์

การศึกษาเชิงวิทยาศาสตร์ หมายถึง
– การใช้วิธีการสังเกต การพรรณา และการทดลอง
– เพื่อที่จะรวบรวมความรู้ แล้วจัดความรู้นี้ให้เป็นระบบ


กลุ่มแนวคิดทางจิตวิทยาการศึกษาที่สำคัญของโลก

1. กลุ่มโครงสร้างของจิต(Structuralism)

ผู้ก่อตั้งจิตวิทยาการศึกษา

ก่อตั้งโดย วุ้นท์(Wilhelm Maximilian Wundt) เขาเป็นบิดาแห่งจิตวิทยา หรือบิดาจิตวิทยาการทดลอง

จุดหมายของกลุ่มโครงสร้างของจิต

เป็นกลุ่มแรกที่มีแนวคิดเป็นวิทยาศาสตร์ พฤติกรรมของบุคคลเกิดจากการกระทำของร่างกายโดยการควบคุม สั่งการของจิต โดยจิตเป็นโครงสร้างจากองค์ประกอบเล็กๆที่เรียกว่า จิตธาตุ ซึ่งมี 3 องค์ประกอบ ได้แก่
1) การสัมผัส คือ การที่อวัยวะสัมผัสรับพลังงานจากสิ่งเร้า เช่น มือแตะของร้อน เป็นต้น
2) ความรู้สึก คือ การแปลความหมายจากการสัมผัสสิ่งเร้านั้นๆ
3) มโนภาพ คือ การคิดออกมาเป็นภาพในจิต

ประเด็นข้อสอบจริง(บ้านของครู MR.KRON)

->(ข้อสอบครูกรณีพิเศษ. 60)
บิดาแห่งจิตวิทยาคือใคร
ตอบ วุ้นท์(Wilhelm Maximilian Wundt)


2. กลุ่มหน้าที่ของจิต (Functionalism)

ผู้ริเริ่มแนวคิดจิตวิทยาการศึกษา

– จอห์น ดิวอี้ (John Dewey)
– วิลเลียม เจมส์ (William James )

จุดหมายของกลุ่มหน้าที่ของจิต

– เน้นศึกษาการทำหน้าที่ของอวัยวะต่างๆ ที่เกิดขึ้นจากประสบการณ์ของตนเอง
– เน้นผู้เรียนให้ใช้สติปัญญาในการแก้ไขปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นจากประสบการณ์ตนเองโดยความรู้จะเกิดขึ้นได้จากความสัมพันธ์โดยตรงระหว่างมนุษย์กับสิ่งแวดล้อม
– บุคคลจะได้รับความรู้ก็ต่อเมื่อตนเองเป็นผู้ลงมือกระทำเอง(Learning by doing)
->>ผู้เป็นเข้าของแนวคิด Learning by doing ก็คือ จอห์น ดิวอี้ (John Dewey)

ประเด็นข้อสอบจริง(บ้านของครู MR.KRON)

->(ข้อสอบจริงครูสพฐ. 57)
Leaning by doing เป็นการจัดการเรียนรู้นักจิตวิทยากลุ่มใด
ตอบ Fuctionalism(กลุ่มหน้าที่ของจิต)


3. กลุ่มจิตวิเคราะห์ (Psychoanalysis)

ผู้ริเริ่มแนวคิดจิตวิทยาการศึกษา

– ซิกมันด์ ฟรอยด์(Sigmund Freud)

ซิกมันด์ ฟรอยด์(Sigmund Freud)
ซิกมันด์ ฟรอยด์(Sigmund Freud)

จุดหมายของกลุ่มจิตวิเคราะห์

เชื่อว่าพฤติกรรมเกิดจากแรงขับทางเพศ โดยแบ่งจิตของมนุษย์เป็น 3 ระดับ ซึ่งเปรียบเสมือนภูเขา ที่ลอยอยู่ในมหาสมุทร
1) จิตรู้สำนึก คือ การแสดงอะไรออกไปตามเหตุผล รู้ตัว
2) จิตใต้สำนึก คือ การไม่รู้ตัวในบางขณะ อาจเพราะลืม
3) จิตไร้สำนึก คือ สภาพของจิตภายในที่เจ้าตัวไม่รู้สึกตัวเลย ไม่รู้ตัวว่าอิจฉาคนอื่น

ทฤษฎีพลังจิตของฟรอยด์ มี 3 ลักษณะ คือ

1) อิด(Id)
– เป็นความต้องการโดยไม่สนใจอะไรทั้งสิ้น
ตัวอย่าง เงินคนอื่นหล่นจะมีคนเห็นหรือไม่ก็ตาม คนประเภทนี้จะเอาทันทีไม่สนใจใครทั้งสิ้น

2) อีโก้ (Ego)
– เป็นส่วนที่พอประนีประนอมได้ระหว่าง Id กับ Super Ego
ตัวอย่าง เงินคนอื่นหล่น หากไม่มีคนเห็นขณะเราเก็บได้ก็จะเก็บเอาเป็นของตน แต่ถ้ามีคนเห็นขณะเก็บก็จะนำไปส่งคืน

3) ซูปเปอร์อีโก้ (Super Ego)
– เป็นการที่สามารถควบคุม Id และ Ego ได้
– เปรียบเสมือนคุณธรรมในจิต ด้านของความดี ความถูก ผิด เป็นที่พึงปารถนาสูงสุดของสังคม
ตัวอย่าง เก็บเงินได้แล้วนำเงินไปคืนเจ้าของโดยที่มีคนเห็นขณะเก็บหรือไม่ก็ตาม

ประเด็นข้อสอบจริง(บ้านของครู MR.KRON)

->(ข้อสอบจริงครูสพฐ. 57)
พฤติกรรมมนุษย์เกิดจากแรงขับทางเพศ คือจิตวิทยากลุ่มใด
ตอบ กลุ่มจิตวิเคราะห์ (Psychoanalysis)

>(ข้อสอบจริงครูสพฐ. 57)
ข้อใดเป็นการแสดงให้เห็นถึงการมี super ego
ตอบ เก็บเงินได้แล้วนำเงินไปคืนเจ้าของโดยที่มีคนเห็นขณะเก็บหรือไม่ก็ตาม

>(ข้อสอบจริงครูกรณีพิเศษ 59)
ID คืออะไร
ตอบ ความต้องการโดยไม่สนใจอะไรทั้งสิ้น

->(ข้อสอบจริงครูกรณีพิเศษ 59)
super ego คืออะไร
ตอบ คุณธรรมในจิตสูงสุด

->(ข้อสอบครูกรณีพิเศษ. 60)
จิตรู้สำนึก ไรสำนึก ใต้สำนึก ตรงกับหลักทฤษฎีของใคร
ตอบ ซิกมันด์ ฟรอยด์ (Sigmund Freud)


4. กลุ่มพฤติกรรมนิยม (Behaviorism)

นักจิตวิทยาที่มีชื่อเสียงของกลุ่มพฤติกรรมนิยม

=> ธอนไดค์ (Thorndike)
– เป็นบิดาจิตวิทยาการศึกษา
– เน้นการเรียนรู้แบบลองผิดลองถูก
=> วัตสัน (Watson)
– เป็นบิดาจิตวิทยาพฤติกรรม
– เป็นบิดาจิตวิทยาแผนใหม่
=> พาฟลอฟ (Palov)
– เจ้าของทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิค

แนวคิดของกลุ่มพฤติกรรมนิยม

– เชื่อมั่นว่า ถ้าสามารถควบคุมสิ่งแวดล้อมของมนุษย์ได้ จะทำให้มนุษย์คนนั้นมีพฤติกรรมอะไรก็ได้ตามที่ต้องการจะให้เป็น
– เชื่อว่าพฤติกรรมมีสาเหตุเกิดจาก การตอบสนองต่อสิ่งเร้า
– พฤติกรรมทำให้ทราบถึงเรื่องราวของจิตได้
– การวางเงื่อนไขเป็นสาเหตุของการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม
– พฤติกรรมส่วนใหญ่เกิดจากการเรียนรู้มากกว่าเกิดเองตามธรรมชาติ
– การเรียนรู้ของคนกับสัตว์ไม่ต่างกัน

5. กลุ่มทฤษฎีสติปัญญา(Cognitive Theory)

กลุ่มทฤษฎีสติปัญญามีหลายทฤษฎีที่ควรทราบได้แก่

1) ทฤษฎีกลุ่มเกสตัลท์

บุคคลสำคัญของกลุ่มนี้

– เวอร์ไธแมอร์ (Max Wertheimer)
– คอฟก้า(Koffka)
โคห์เลอร์(Kohler)**จำคนนี้ให้ได้
– เลวิน (Lewin)

แนวคิดของกลุ่มเกสตัลท์

– การเรียนรู้เกิดจากกระบวนการทางความคิด
– บุคคลจะเกิดการเรียนรู้จากสิ่งเร้าที่เป็นส่วนรวมได้ดีกว่าส่วนย่อย

=>การเรียนรู้เกิดขึ้นได้ 2 ลักษณะ คือ

1) การรับรู้ (Perception) 
– เป็นการแปรความหมายจากการสัมผัสด้วยอวัยวะสัมผัสทั้ง 5 ส่วนคือ หู ตา จมูก ลิ้นและผิวหนัง
– การรับรู้ทางสายตาจะประมาณร้อยละ 75 ของการรับรู้ทั้งหมด 

->กฎแห่งการจัดระเบียบการรับรู้มี 5 กฎได้แก่
1.1) กฎแห่งความชัดเจน (Clearness)
– เป็นการเรียนรู้ที่ดีต้องมีความชัดเจนและแน่นอน เพราะผู้เรียนมีประสบการณ์เดิมแตกต่างกัน

1.2) กฎแห่งความคล้ายคลึง (Law of Similarity)
– เป็นการวางหลักการรับรู้ในสิ่งที่คล้ายคลึงกันเพื่อจะได้รู้ว่าสามารถจัดเข้ากลุ่มเดียวกัน

1.3) กฎแห่งความใกล้ชิด (Law of Proximity)
– เป็นการกล่างถึงว่าถ้าสิ่งใดหรือสถานการณ์ใดที่มีความใกล้ชิดกัน ผู้เรียนมีแนวโน้มที่จะรับรู้สิ่งนั้นไว้แบบเดียวกัน

1.4) กฎแห่งความต่อเนื่อง (Law of Continuity)
– สิ่งเร้าที่มีทิศทางในแนวเดียวกัน ซึ่งผู้เรียนจะรับรู้ว่าเป็นพวกเดียวกัน

1.5) กฎแห่งความสมบูรณ์ (Law of Closer)
– สิ่งเร้าที่ขาดหายไปผู้เรียนสามารถรับรู้ให้เป็นภาพสมบูรณ์ได้โดยอาศัยประสบการณ์เดิม

2) การหยั่งเห็น (Insight)
– เป็นการเกิดความคิดแวบขึ้นมาทันทีทันใด ในขณะที่ประสบปัญหา
– มองเห็นแนวทางในการแก้ปัญหาตั้งแต่เริ่มแรกเป็นขั้นตอนจนสามารถแก้ปัญหาได้
– เป็นการมองเห็นสถานการณ์ในแนวทางใหม่ๆขึ้น
– เกิดจากความเข้าใจและความรู้สึกที่มีต่อสถานการณ์ว่าได้ยินได้ค้นพบแล้ว
– ผู้เรียนจะมองเห็นช่องทางการแก้ปัญหาขึ้นได้ในทันทีทันใด

การทดลองของโคเลอร์
– ทำการทดลองการหยั่งเห็นกับลิงชิมแฟนซีที่เลี้ยงไว้
– เพื่อแสดงให้เห็นว่า ลิงสามารถเรียนรู้การแก้ปัญหา โดยการหยั่งเห็นได้
วิธีการนำลิงติดตามไปเก็บผลไม้ในป่า และเมื่อลิงเห็นโคเลอร์ใช้ไม้สอยผลไม้ได้ ลิงจึงเกิดการเรียนรู้ทำตาม

สำหรับกลุ่มนี้ชอบข้อสอบชอบถามถึงการหยังเห็นครับ

ประเด็นข้อสอบจริง(บ้านของครู MR.KRON)

->(ข้อสอบครูกทม. 58)
การหยั่งเห็นเป็นทฤษฎีการเรียนรู้ของใคร
ตอบ โคเลอร์

->(ข้อสอบครูสพฐ. 63)
การหยั่งเห็นเป็นทฤษฎีการเรียนรู้ของใคร
ตอบ Kohler


2) ทฤษฎีสนาม

บุคคลสำคัญของทฤษฎีสนาม

– เลวิน(Kurt Lewin)

แนวคิดของกลุ่มทฤษฎีสนาม

– เชื่อว่าบุคคลดำรงอยู่ในสนามอวกาศแห่งชีวิตเป็นโลกที่บุคคลสร้างขึ้นต่างหากไม่ใช่โลกจริง
– เป็นโลกของความนึกคิดที่สัมผัสกับโลกของคนอาศัยประสบการณ์
– จะรวมกันเป็นส่วนใหญ่มากกว่าที่จะกลายเป็นส่วนย่อยๆ

ประเด็นข้อสอบจริง(บ้านของครู MR.KRON)

->(ข้อสอบครูกทม. 58)
ทฤษฎีสนามเป็นทฤษฎีของใคร
ตอบ เลวิน(Kurt Lewin)


3) ทฤษฎีของเครื่องหมาย

บุคคลสำคัญของทฤษฎีเครื่องหมาย

– ทอลแมน(Edward Tolman)

แนวคิดของทฤษฎีเครื่องหมาย

– ทอลแมน ได้เสนอถึงทฤษฎีเครื่องหมาย หรือ ทฤษฎีความคาดหมาย (Expectancy Theory)
– เป็นการปรับปรุงมาจากทฤษฎีการแสดงพฤติกรรมสู่จุดหมายโดย
– การเรียนรู้เกิดจากการใช้เครื่องหมายเป็นตัวชี้ทางให้แสดงพฤติกรรมไปสู่จุดหมายปลายทาง

ประเด็นข้อสอบจริง(บ้านของครู MR.KRON)

->(ข้อสอบครูกทม. 58)
ทฤษฎีเครื่องหมายเป็นทฤษฎีของใคร
ตอบ ทอลแมน(Tolman)


6. กลุ่มมนุษยนิยม (humanism)

บุคคลสำคัญของกลุ่มมนุษยนิยม

มาสโลว์(Maslow) เจ้าของทฤษฎีความต้องการพื้นฐาน 5 ขั้น
– โรเจอร์ส (Rogers) บิดาจิตวิทยาไม่นำทาง

แนวคิดของกลุ่มมนุษยนิยม

– เชื่อว่า มนุษย์ทุกคนพยายามปรับปรุงตัวเองให้เป็นผู้ที่มีความสมบูรณ์ที่สุดเท่าที่จะทำได้
– สิ่งที่เป็นประโยชน์ต่ออนาคตผู้เรียนมากที่สุดก็คือ กรรมวิธีในการแสวงหาความรู้

=>จุดเน้นที่ออกข้อสอบบ่อย
ทฤษฎีความต้องการพื้นฐาน 5 ขั้นของ มาสโลว์(Maslow)
ขั้นที่ 1 ความต้องการทางร่างกาย (Physiological Needs)
ขั้นที่ 2 ความต้องการความมั่นคงปลอดภัย (Safety and Security Needs)
ขั้นที่ 3 ความต้องการความรัก (Love and Belonging Needs)
ขั้นที่ 4 ความต้องการได้รับการยกย่องจากผู้อื่น (Self -Esteem Needs)
ขั้นที่ 5 ใช้ความสามารถให้เกิดผลสูงสุด (Self-Actualization Needs)

ประเด็นข้อสอบจริง(บ้านของครู MR.KRON)

->(ข้อสอบครูสพฐ. 58)
ข้อใดเป็นความต้องการของมนุษย์ขั้นสูงสุ
ตอบ Self-Actualization Needs


จิตวิทยาพัฒนาการ
(Developmental Psychology)

1.พัฒนาการกับการเจริญเติบโต

พัฒนาการ หมายถึง
– การเปลี่ยนแปลงที่เป็นระเบียบสามารถคาคคะเนได้ตามสมควร
– เป็นการเปลี่ยนแปลงที่ก้าวหน้าของบุคคลซึ่งเป็นผลจากวุฒิภาวะและประสบการณ์
– มีลักษณะการเปลี่ยนแปลงทางด้านต่างๆของร่างกายเด็กแต่ละคนจะพัฒนาไปในทางที่ดีจึงส่งผลต่อร่างกาย อารมณ์ ทางสังคม และทางสติปัญญา ซึ่งจะเกิดขึ้นต่อเนื่องตลอดชีวิต
– มีวุฒิภาวะเป็นตัวควบคุม โดยไม่ต้องเร่ง เมื่อร่างกายพัฒนาการถึงความสามารถทางด้านต่างๆ ก็จะเป็นได้เองตามธรรมชาติ

ความเจริญเติบโต (Growth) หมายถึง
– การเปลี่ยนแปลงในด้านโครงสร้างของร่างกาย
– เป็นการเพิ่มเกี่ยวกับจำนวนและขนาด เช่น ความสูงรูปร่าง สัดส่วน ความหนาตลอดจนกระดูกและกล้ามเนื้อ แสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงด้านปริมาณ

2.ลักษณะของการพัฒนาการ

เกิดขึ้นในลักษณะที่ต่อเนื่อง เป็นไปตามแบบฉบับของตัวเองจะเกิดในอัตราที่ไม่เท่ากันเกิดเป็นทิศทางเฉพาะ

3.องค์ประกอบของพัฒนาการ

1) วุฒิภาวะ หมายถึง
– ความเจริญเติบโตทั้งร่างกายและจิตใจ พร้อมที่จะทำงานตามหน้าที่ได้
ตัวอย่าง เด็กที่เกิดมาเมื่อเติบโตระดับหนึ่งจะสามารถ พูด หรือเดินได้โดยไม่ต้องอาศัยสิ่งเร้าใดๆ

2) การเรียนรู้ หมายถึง
– กระบวนการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมเดิมไปสู่พฤติกรรมใหม่ที่ค่อนข้างถาวร
– พฤติกรรมใหม่นี้เป็นผลมาจากประสบการณ์หรือการฝึกฝน มิใช่เป็นผลจากการตอบสนองตามธรรมชาติหรือสัญชาตญาณ หรือวุฒิภาวะ จึงจะถือว่าเกิดการเรียนรู้ขึ้น
– หากเป็นการเปลี่ยนแปลงชั่วคราวไม่ถือเป็นการเรียนรู้

ประเด็นข้อสอบจริง(บ้านของครู MR.KRON)

->(ข้อสอบครูสพฐ. 63)
เติบโตขึ้นและทำอะไรได้มากขึ้น เพราะอะไร
ตอบ วุฒิภาวะและการเรียนรู้


4.ประเภทของพัฒนาการ

มนุษย์จะมีการพัฒนาการที่ดำเนินไปพร้อมกันทั้ง 4 ด้าน และทุกๆด้านย่อมสัมพันธ์กันเสมอได้แก่
1) ด้านร่างกาย ได้แก่ ส่วนสูงและน้ำหนักที่เพิ่มขึ้น
2) ด้านอารมณ์ ได้แก่ การควบคุมพฤติกรรมขณะเกิดอารมณ์ได้ดีขึ้น
3) ด้านสังคม ได้แก่ การปรับตัวเข้ากับผู้อื่นได้ดี
4) ด้านสติปัญญา ได้แก่ มีความคิดเป็นของตัวเอง

5.ทฤษฎีพัฒนาการของฟรอยด์ เกี่ยวกับความรู้สึกทางเพศ

1) ขั้นความพอใจอยู่บริเวณปาก (Oral Stage)
– อยู่ในช่วงแรกเกิด ถึง 1 ขวบ
– เป็นระยะที่ทารกมุ่งความสนใจไปที่ปาก การดูด การกัด
– การได้สัมผัสบริเวณปากจะนําความสุขมาให้ทารกมากที่สุด
– การดูดอาหารช่วยตอบสนองความหิวและผ่อนคลายความตึงเครียดทางร่างกาย

2) ขั้นความพอใจอยู่บริเวณทวารหนัก (Anal Stage)
– อยู่ในช่วงอายุ 1 – 3 ขวบ
– ระยะนี้เกิดเมื่อเด็กเรียนรู้เรื่องการขับถ่าย
– การขับถ่ายของเด็กควรเป็นไปโดยเด็กพอใจและไม่มีความรู้สึกขัดแย้ง
=> การวางกฎเกณฑ์บังคับเด็กหรือการบังคับให้เด็กถ่ายเป็นเวลา
✔ จะทำให้เด็กมีความตึงเคียดทางอารมณ์

3) ขั้นความพอใจอยู่บริเวณอวัยวะเพศ (Phallic Stage)
– อยู่ในช่วงอายุ 3 – 5 ปี
– เป็นระยะที่ความพึงพอใจของเด็กขยับไปอยู่ที่อวัยวะสืบพันธ์
– ลักษณะที่เด่นชัดของขั้นนี้ คือ เด็กมีความสนใจและอยากรู้อยากเห็นเกี่ยวกับสภาพร่างกายซึ่งแตกต่างไปตามเพศ
– การเล่นอวัยวะเพศจะพบได้ในเด็กอายุช่วงนี้
– เรียนรู้ถึงบทบาทางเพศของตนโดยการเลียนแบบ (Identification) บทบาทของพ่อแม่

4) ขั้นก่อนวัยรุ่น (Latency Stage)
– อยู่ในช่วงอายุ 6 – 11 ปี
– เป็นระยะที่เด็กจะหันความสนใจจากความสัมพันธ์ภายในครอบครัวไปสู่เพื่อนฝูง
– ระยะนี้พลังต่าง ๆ ในขั้นที่ 3 ยังคงแฝงอยู่ไม่แสดงปรากฏออกมา

5) ขั้นวัยรุ่น (Genital Stage)
– อายุตั้งแต่ 12 ปีเป็นต้นไป
– เป็นขั้นที่เด็กมีความสนใจในเพศตรงข้ามมากทุกที
– การเริ่มต้นที่แท้จริงของความรักระหว่างเพศจะเกิดขึ้นในขั้นนี้

6.ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของเพียเจต์

ทฤษฎีของเขาตั้งอยู่บนรากฐานขององค์ประกอบที่เป็นพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อม เน้นเข้าใจธรรมชาติของเด็ก เป็นลำดับขั้นมากกว่าการไปกระตุ้นให้เด็กมีพัฒนาการเร็วขึ้นมีลำดับขั้นดังนี้

ระยะที่ 1 ขั้นประสาทรับรู้และการเคลื่อนไหว(Sensori-Motor Stage)
– ช่วงแรกเกิด-2 ปี
– เด็กจะพัฒนาการแก้ปัญหาโดยไม่ต้องใช้ภาษาสื่อสาร
– ยิ่งใช้ประสาทสัมผัสเท่าไรยิ่งจะช่วยให้พัฒนาเชาว์ปัญญาได้มากขึ้น
– เด็กรับรู้สิ่งที่เป็นรูปประธรรม

ระยะที่ 2 ขั้นเตรียมความคิดที่มีเหตุผล(Preoperational Stage)
– ช่วงอายุ 2-7 ปี
– เป็นการพัฒนาเชาว์ปัญญาเน้นไปที่การเรียนรู้
– เริ่มมีพัฒนาการทางภาษาที่ดี พูดเป็นประโยคได้
– มีการสร้างคำได้มากขึ้น แต่ยังใช้สติปัญญาได้ไม่เต็มที่

ระยะที่ 3 ขั้นคิดเป็นรูปธรรมคิดอย่างมีเหตุมีผล(Concrete Operation Stage)
– ช่วงอายุ 7-11 ปี
– เด็กสามารถใช้สติปัญญาในการตัดสินใจปัญหาต่างๆ ได้ดีขึ้น
– จินตนาการความคิดได้ เข้าใจการคงสภาพของสสารและปริมาณ
– มีการคิดเชิงเปรียบเทียบได้
แยกหมวดหมู่ต่างๆ ได้มีความสามารถในการเรียงลำดับ คิดย้อนกลับได้

ระยะที่ 4 ขั้นคิดอย่างเป็นนามคิดอย่างมีเหตุมีผล (Formal Operational Stage)
– ช่วงอายุ 12 ปีขึ้นไป
– เริ่มคิดแบบผู้ใหญ่เป็นตัวของตัวเองได้ต้องการอิสระ
– เข้าใจในสิ่งที่เป็นนามธรรม ใช้เหตุใช้ผลได้อย่างมีประสิทธิภาพ

7.ทฤษฎีพัฒนาการทางจริยธรรม ของโคลเบอร์ก

ประกอบด้วยขั้นพัฒนาการให้เหตุผลเชิงจริยธรรม 6 ขั้น และระดับความคิดทางจริยธรรม 3 ระดับ ดังนี้

1) ระดับเริ่มมีจริยธรรม (Preconventional level)
– เป็นระดับก่อนเกณฑ์ (อายุ 2 – 10 ปี)
– เด็กในระดับนี้จะทำตามที่สังคมกำหนดว่าดีหรือไม่ดีมีพัฒนาการ 2 ขั้น คือ

ขั้นที่ 1 (อายุ 2 – 7 ปี) เด็กจะเคารพกฎเกณฑ์เพื่อหลีกเลี่ยงการถูกลงโทษ
ขั้นที่ 2 (อายุ 7 – 10 ปี) ใช้หลักการแสวงให้รางวัล เด็กจะเลือกกระทําในสิ่งที่นําความพอใจ มาให้ตนเท่านั้น สิ่งใดที่สนองความต้องการของตนถือว่าสิ่งนั้นถูกต้อง การมองความสัมพันธ์ของคนยังแคบ เป็นลักษณะการแลกกัน เช่น “ถ้าเธอตีฉัน ฉันจะต้องตีเธอบ้าง”

2) ระดับมีจริยธรรมตามกฎเกณฑ์และประเพณีนิยม (Conventional level)
– เป็นระดับตามกฎเกณฑ์ (อายุ 10 – 16 ปี)
– เด็กในระดับนี้ทำตามความคาดหวังของครอบครัว ของสังคม หรือประเทศชาติ โดยไม่คํานึงถึงผลที่จะตามมา
– ระดับนี้จะมีพัฒนาการ 2 ขั้น คือ

ขั้นที่ 3 (อายุ 10 – 13 ปี) เป็นการทำตามที่ผู้อื่นเห็นชอบ โดยเด็กมองว่าการทำดีคือการทำให้ผู้อื่นพอใจและการช่วยเหลือผู้อื่น ทำตามสังคมเพื่อให้ได้รับการยอมรับว่าเป็นเด็กดี
ขั้นที่ 4 (อายุ 13 – 16 ปี) เป็นการทำตามหน้าที่ทางสังคม ซึ่งกฎที่ผู้ปกครองหรือสังคมตั้งไว้ เป็นตัวกำหนดความประพฤติด้านจริยธรรมของเด็ก การทำถูกคือการทำตามหน้าที่ เคารพผู้ปกครองและทำ ตามระเบียบกฎเกณฑ์ที่สังคมตั้งไว้เพื่อหลีกเลี่ยงการถูกประณามจากสังคม

3) ระดับมีจริยธรรมของตนเอง (autonomous)
– เป็นระดับหลังเกณฑ์ (อายุ 16 ปีขึ้นไป)
– เด็กในระดับนี้จะมีพฤติกรรมตามความเชื่อส่วนตัว ถึงแม้จะไม่ตรงกับกลุ่มพวกพ้องก็ตาม
– ระดับนี้จะมีพัฒนาการ 2 ขั้น คือ

ขั้นที่ 5 (อายุ 16 ปีขึ้นไป) คำนึงถึงกฎที่จะเป็นประโยชน์ต่อสังคม คำนึงถึงสิทธิส่วนบุคคล ยอมรับกฎที่เป็นประชาธิปไตย
ขั้นที่ 6 (วัยผู้ใหญ่) เป็นการยึดหลักอุดมคติ คำนึงถึงหลักจริยธรรม ตัดสินความถูกผิดจาก จริยธรรมที่ตนยึดถือจากสามัญสํานึกตนเองและจากเหตุผล คำนึงถึงสิทธิมนุษยชนและเคารพสถานภาพของ บุคคลไม่คล้อยตามสังคม สามารถบังคับใจตนเองได้

ความแตกต่างของวัยเด็กและวัยรุ่น

จิตวิทยาวัยเด็ก
– เป็นวัยที่มีอายุอยู่ในช่วง 2-9 ปี
– เด็กเริ่มรู้จักบุคคล สิ่งแวดล้อม สิ่งของ
– สามารถใช้อวัยวะส่วนต่างๆ ของร่างกายได้หลากหลาย
– เริ่มเข้าใจลักษณะการสื่อสารและสามารถใช้ภาษาได้มากขึ้น
– ลักษณะเด่นคือชอบแสดงความสามารถ ชอบอาสาช่วยเหลือ ช่างประจบ ซุกซน อยากรู้อยากเห็น
– เด็กวัยนี้จะมีการเปลี่ยนแปลงด้านบุคลิกภาพและมีพัฒนาการด้านจริยธรรมอย่างชัดเจน

จิตวิทยาวัยรุ่น
– เป็นวัยที่มีอายุอยู่ในช่วง 10-21 ปี
– วัยรุ่นเป็นวัยช่วงต่อระหว่างวัยเด็กและวัยผู้ใหญ่
– เป็นช่วงระยะเวลาที่มีการเปลี่ยนแปลงทางด้านการเจริญเติบโตทางด้านร่างกาย
– พัฒนาการทางด้านอารมณ์ สังคมและจิตใจก็เปลี่ยนแปลงในลักษณะที่ไม่ค่อยสอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงด้านร่างกายที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว
– ทำให้เกิดความสับสน ขาดความเชื่อมั่นในตนเอง ขาดความยับยั้งชั่งใจ ขาดประสบการณ์
– ช่วงวัยรุ่นถือว่าเป็นช่วงระยะเวลาที่มีปัญหาทางด้านจิตสังคม อารมณ์และพฤติกรรมเสี่ยงมากกว่าช่วงอายุอื่นๆ

ประเด็นข้อสอบจริง(บ้านของครู MR.KRON)

->(ข้อสอบครูสพฐ. 63)
ข้อใดไม่ใช่พัฒนาการของเด็กประถมศึกษาปีที่ 1
ตอบ รับผิดชอบงานที่มอบหมายทุกอย่าง

->(ข้อสอบครูสพฐ. 63)
วัยรุ่นแตกต่างจากวัยเด็กในข้อใดมากที่สุด
ตอบ การใช้เหตุผลเชิงนามธรรม


ทฤษฎีวุฒิภาวะของกีเซล(Gesell’ Maturation Theory)

– หน้าที่ของอวัยวะต่างๆและพฤติกรรมที่ปรากฏขึ้นเป็นรูปแบบที่แน่นอนและเกิดขึ้นเป็นลำดับขั้น
ประสบการณ์และสภาพแวดล้อมเป็นองค์ประกอบรองที่ต่อเติมเต็มเสริมพัฒนาการต่างๆ
– วุฒิภาวะจะถูกกำหนดโดยพันธุกรรม ถ้าวุฒิภาวะหรือความพร้อมยังไม่เกิดขึ้นตามปกติในวัยนั้น
– สภาพแวดล้อมจะไม่มีอิทธิพลต่อพัฒนาการเด็ก

กีเซลได้สร้างกฎเกณฑ์มาตรฐานสำหรับวัดพฤติกรรมของเด็กแต่ละระดับ เน้นความแตกต่างระหว่างบุคคลโดยใช้วิธีการสังเกตพฤติกรรม ซึ่งเขาได้แบ่งพัฒนาการของเด็กที่ต้องารวัดและประเมินผลออกเป็น 4 กลุ่มใหญ่ ดังนี้

1) พฤติกรรมทางการเคลื่อนไหว (Motor behavior)
– ครอบคลุมถึงการบังคับอวัยวะต่างๆ ของร่างกาย และความสัมพันธ์ทางด้านการเคลื่อนไหวทั้งหมด
– พฤติกรรมกลุ่มนี้เกี่ยวข้องกับการทรงตัว การควบคุมกล้ามเนื้อ การทรงตัวของศีรษะ การนั่ง ยืน คลาน เดิน จับยึดวัตถุและการจัดกระทำ (Manipulation) กับวัตถุ

2) พฤติกรรมทางการปรับตัว (Adaptive behavior)
– ครอบคลุมทางด้านความเชื่อมโยงของ การใช้มือและสายตาในการถือวัตถุและเข้าถึงวัตถุ การแก้ปัญหาในการปฏิบัติ การสํารวจและการจัด กระทำต่อวัตถุ เช่น การจัดกล่องรูปลูกบาศก์ การสั่นระฆัง การวาดภาพ ฯลฯ

3) พฤติกรรมทางด้านภาษา (Language behavior)
– ครอบคลุมทางด้านการติดต่อสื่อสาร ด้วยการแสดงออกทางใบหน้า การใช้อวัยวะต่างๆ
ตัวอย่าง มือหรือศีรษะถ่ายทอดความคิด การออกเสียง การใช้ ภาษา รวมทั้งความเข้าใจจากการสื่อสารของผู้อื่นด้วย

4) พฤติกรรมทางสังคม – ตัวบุคคล (Personal – social behavior)
– ครอบคลุมถึงการตอบสนองของเด็กต่อบุคคลอื่นในด้านวัฒนธรรมทางสังคม
ตัวอย่าง การเลี้ยงดู การฝึกขับ – ถ่าย และการตอบสนองต่อการฝึกหัดในสังคมต่างๆ การเล่น พัฒนาการทางด้านความเป็น “เจ้าของ” การยิ้มและการตอบสนองต่อบุคคลอื่น ต่อวัตถุบางอย่าง เช่น กระจกเงา เป็นต้น

จิตวิทยาการศึกษา
(Educational Psychology)

1.จิตวิทยาการศึกษากับการเรียนรู้

จิตวิทยาการศึกษา หมายถึง
– วิชาที่ศึกษาพฤติกรรมต่างๆที่เกี่ยวข้องกับสถานการณ์ การเรียนการสอน
– เน้นพฤติกรรมการเรียนรู้ การพัฒนาความสารถของผู้เรียน
– ตลอดจนวิธีนำความรู้ความเข้าใจที่เกิดขึ้นมาใช้ในกระบวนการจัดการเรียนการสอน

=> จุดมุ่งหมายของจิตวิทยาการศึกษา คือ
– เพื่อความเข้าใจ เพื่อทำนาย และเพื่อควบคุม

=> จิตวิทยาการศึกษาและจิตวิทยาการเรียนรู้
– เป็นสิ่งที่มีความหมายเหมือนกัน

การเรียนรู้ คือ
– การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมอันเนื่องมาจากระสบการณ์ค่อนข้างถาวร
– การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมนี้เกิดมาจากการฝึกฝนและเป็นผลมาจากประสบการณ์
– ไม่ใช่สิ่งที่เกิดขึ้นมาจาก ภาวะชั่วคราว การตอบสนองเองตามธรรมชาติ วุฒิภาวะ หรือสัญชาตญาณ

การเรียนรู้ขึ้นอยู่กับ 3 ตัวแปร ได้แก่
1) สิ่งเร้า(Stimulus : S)
2) ประสาทสัมผัสหรืออินทรีย์ (Oganism : O)
3) การรับรู้หรือการตอบสนอง (Response : R)

2.ทฤษฎีการเรียนรู้

2.1 ทฤษฎีการวางเงื่อนไขบบคลาสสิคของพาฟลอฟ (Pavlov)

ผู้คิดค้นทฤษฎี
– พาฟลอฟ (Pavlov) เป็นนักวิทยาศาสตร์ชาวรัสเซีย
– เขาได้รับรางวัลโนเบลสาขาสรีรวิทยา
– มีบทบาทสำคัญในกลุ่มพฤติกรรมนิยม
– ผลงานสำคัญ ทฤษฎีวางเงื่อนไขแบบคลาสสิค (Classical Conditioning)

=>สรุปผลการทดลองของพาฟลอฟ
– เขาทดลองการวางเงื่อนไขกับสุนัข
– สรุปได้ว่าการเรียนรู้แบบวางเงื่อนไขแบบคลาสสิค คือ การตอบสนองที่เป็นไปโดยอัตโนมัติเมื่อนำสิ่งเร้าใหม่มาควบคู่กับสิ่งเร้าเดิม ซึ่งนักจิตวิทยาเรียกพฤติกรรมการตอบสนองนี้ว่า พฤติกรรมเรสปอนเด้นท์

=>กฎแห่งการเรียนรู้ของพาฟลอฟ มี 4 กฎ
1) กฎแห่งการลดภาวะ คือ การตอบสนองจะไม่ปรากฏถ้านำสิ่งเร้านั้นออก
2) กฎแห่งการฟื้นคืนสภาพ คือ หลังจากลบพฤติกรรมไปแล้วไม่เกิดพฤติกรรมที่วางเงื่อนไขนั้นอีก แต่บางครั้งนานไปอาจเกิดพฤติกรรมนั้นได้อีกเช่น เลิกกับแฟนเก่าแต่นานไปก็ลืมแต่วันหนึ่งก็กลับมาคิดถึงเมื่อผ่านไปนานแสนนาน
3) กฎแห่งความคล้ายคือ จากการทดลองถ้าเปลี่ยนกระดิ่งเป็นเคาะจานก็อาจเกิดน้ำลายไหลได้
4) กฎแห่งความแตกต่าง คือ กรณีจากการทดลอง เมื่อเคาะจานแล้วไม่มีอาหารสนุขก็รู้ว่าของปลอม ก็แยกแยะได้ น้ำลายจึงไม่ไหลเมื่อ เคาะบ่อยๆแล้วไม่มีอาหาร

2.2 ทฤษฎีการเรียนรู้ของวัตสัน (Watson)

ผู้คิดค้นทฤษฎี
– วัตสัน (Watson) ผู้ก่อตั้งกลุ่มพฤติกรรมนิยม
– เขานักจิตวิทยาชาวอเมริกัน
– เขาได้รับยกย่องให้เป็นเป็นบิดาจิตวิทยาแผนใหม่ และบิดาแห่งจิตวิทยาพฤติกรรม
– ผลงานสำคัญของเขา คือ ทฤษฎีการวางเงื่อนไขคลาสสิกของวัตสัน (Classical Conditioning)

=> สรุปการทดลองการวางเงื่อนไขของวัตสัน
– วัตสันได้นำทฤษฎีการวางเงื่อนไขของพาฟลอฟมาใช้กับมนุษย์และสำเร็จ จึงรับการยกย่องเป็น บิดาจิตวิทยาแผนใหม่ บิดาแห่งจิตวิทยาพฤติกรรม
– เขานำทฤษฏีของฟาฟลอฟไปใช้กับมนุษย์ ชื่อเด็กชายอัลเบอร์ต
– จากการทดลองได้ผลคือ การวางเงื่อนไขสามารถเปลี่ยนพฤติกรรมของมนุษย์ได้ และเขาสามารถสร้างให้เด็กเป็นอะไรก็ได้โดยการวางเงื่อนไข

2.3 ทฤษฎีการเรียนรู้ของ ธอร์นไดค์(Thorndike)

ผู้คิดค้นทฤษฎี
– ธอร์นไดค์(Thorndike) เป็นนักจิตวิทยาชาวอเมริกันและบิดาจิตวิทยาการศึกษา
– เน้นการการสอนแบบลองผิดลองถูก

=>สรุปการทดลองของธอร์นไดค์(Thorndike)
– สัตว์ที่ใช้ทดลองคือ แมวในกรงเพื่อให้แมวเรียนรู้การเปิดกรงจากการกดคานไม้
– ได้ผลการทดลองว่า การเรียนรู้เกิดจากการลองผิดลองถูก

=>กฎการเรียนรู้ของธอร์นไดค์
1)กฎแห่งความพร้อม(Law of Readiness)
– การเรียนรู้จะได้ผลดีจะผู้ที่เรียนจะต้องพร้อมที่จะเรียนรู้ อยู่ในสภาวะที่เหมาะสม
2)กฎแห่งการฝึกหัด(Law of Exercise)
– การฝึกฝนทำซ้ำๆ จะช่วยให้เกิดการจำได้ดี
3) กฎแห่งผลที่พึงพอใจ(Law of Effect)
– เมื่อผู้เรียนได้รู้ผลการเรียนรู้ที่ครูแจ้ง เขาย่อมอยากพัฒนาตนเอง เมื่อรู้ผลลัพธ์ที่ต้องพัฒนาไปทางไหน

ประเด็นข้อสอบจริง(บ้านของครู MR.KRON)

->(ข้อสอบครู สพฐ. 58)
เจ้าของทฤษฎีความสัมพันธ์ต่อเนื่อง
ตอบ Thorndike

->(ข้อสอบครู สพฐ. 58)
การลองผิดลองถูกเป็นทฤษฎีการเรียนรู้ของใคร
ตอบ ธอร์นไดค์(Thorndike)

->(ข้อสอบครู กทม.59)
ข้อใดเป็นกฎการเรียนรู้ของธอร์นไดค์
ตอบ กฎความพร้อม กฎการฝึกหัด กฎแห่งผล

->(ข้อสอบครู สพฐ.63)
เด็กง่วงนอนทำให้เรียนไม่รู้เรื่องสอดคล้องกับกฎข้อใดของธอร์นไดท์
ตอบ (กฎความพร้อม)


2.4 ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบการกระทำ (Operant Conditioning)

ผู้คิดค้นทฤษฎี
– สกินเนอร์ (B.F. Skinner)
– เขาเป็นอาจารย์ที่มหาวิทยามิเนโซตาแห่งสหรัฐอเมริกา
– เขาเป็นผู้อยู่กลุ่มพฤติกรรมนิยม
– เน้นเรื่องการเสริมแรง

=>สรุปผลการทดลองของสกินเนอร์
– เป็นการทดลองเกี่ยวกับการเสริมแรง
– ใช้กล่องที่มีชื่อเรียกว่า Skinner Box ใช้กับ หนูและคานกด เพื่อทดลองการเรียนรู้ในการกดอาหารกิน
– ก่อกำเนิดเป็นทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบการกระทำ (Operant Conditioning)

=>สรุปเรื่องการเสิรมแรง
การเรียนรู้เกิดจากการเสริมแรง และการเสริมแรง มี 2 แบบ

1) การเสริมแรงทางบวก คืออะไร
– เป็นการให้สิ่งที่บุคคลพึงพอใจ
– มีผลทำให้บุคคลแสดงพฤติกรรมถี่ขึ้น
ตัวอย่างการเสริมแรงทางบวก คำชมเชย รางวัล อาหาร

2) การเสริมแรงทางลบ คืออะไร
– เป็นสิ่งเร้าใดชนิดหนึ่งเมื่อตัดออกไปจากสถานการณ์นั้นแล้วจะมีผลให้อัตราการตอบสนองเปลี่ยนไปในลักษณะดีขึ้น
ตัวอย่างการเสิรมแรงทางลบ เสียงดัง แสงสว่างจ้า คำตำหนิ ร้อนหรือเย็นเกินไป ฯลฯ

=>สรุปเกี่ยวกับการลงโทษ

1) การลงโทษทางบวก คืออะไร
– เป็นการนำเสนอสิ่งเร้าที่ไม่พึงปรารถนาออกหลังจากแสดงพฤติกรรม
– ผลที่ตามมาในอนาคตคือพฤติกรรมมีแนวโน้มลดลง
– เช่น นักเรียนถูกดุเมื่อทำงานที่ได้รับมอบหมายไม่เสร็จ

2) การลงโทษทางลบ คืออะไร
– เป็นการนำสิ่งเร้าที่พึงปรารถนาออกหลังจากแสดงพฤติกรรม
– ผลที่ตามมาในอนาคต คือ พฤติกรรมมีแนวโน้มลดลง
– เช่น นักเรียนถูกงดการได้อภิสิทธิ์หรือสิทธิพิเศษบางประการเมื่อทำงานที่ได้รับมอบหมายไม่เสร็จ

การเสริมแรงทางลบ และการลงโทษเป็นสิ่งเดียวกันหรือไม่ ?
– สกินเนอร์อธิบายว่าต่างกัน
– เขาเน้นว่าการลงโทษเป็นการระงับ หรือหยุดยั้งพฤติกรรม
– แต่การเสริมแรงทางลบคือเอาสิ่งที่เป็นอุปสรรคต่อพฤติกรรมที่ไม่ดีออกไป

ผลงานของสกินเนอร์ที่มักเจอในข้อสอบ
– บทเรียนสำเร็จรูป หรือบทเรียนโปแกรม
– เครื่องมือช่วยในการสอน (Teaching Machine)

ประเด็นข้อสอบจริง(บ้านของครู MR.KRON)

->(ข้อสอบจริงครูสพฐ. 61)
การเสริมแรงแบบใดช่วยให้เกิดพฤติกรรมใหม่
ตอบ เสริมแรงเป็นครั้งคราว

->(ข้อสอบครู สพฐ. 61)
ทฤษฎีการเสริมแรงเป็นทฤษฎีของใคร
ตอบ สกินเนอร์

->(ข้อสอบครู สพฐ. 59)
ครูสมศักดิ์ นำเกมมาประกอบการเรียนการสอนเพื่อลดความเครียดให้กับนักเรียน
ตอบ เสริมแรงทางบวก

->(ข้อสอบครู สพฐ. 59)
ครูสมศรีให้นักเรียนที่ไม่ทำการบ้านส่งคัดไทยเพิ่ม 10 หน้ากระดาษ
ตอบ ลงโทษทางบวก

->(ข้อสอบครู สพฐ. 59)
ครูสมใจยึดโทรศัพท์นักเรียนที่เล่นระหว่างเรียนจนหมดชั้วโมงการเรียนการสอน
ตอบ ลงโทษทางลบ

->(ข้อสอบครู กทม.58)
บทเรียนโปรแกรมเป็นทฤษฎีของใคร
ตอบ สกินเนอร์ (B.F. Skinner)

->(ข้อสอบครู สพฐ. 63)
ครูให้คะแนนเพิ่ม 10 คะแนน กับนักเรียนที่แต่งโคลงสี่สุภาพได้ดี
ตอบ เสริมแรงบวก

->(ข้อสอบครู สพฐ. 63)
ครูให้งานคัดคำศัพท์ 10 หน้า แต่บอกกับนักเรียนว่าถ้าตั้งใจเรียนจะลดให้เหลือคัดคำศัพท์ 5 หน้า
ตอบ เสริมแรงลบ

->(ข้อสอบครู สพฐ. 63)
ครูให้นักเรียนคัดคำศัพท์ 20 คำ เพราะว่านักเรียนไม่ทำการบ้านมาส่ง
ตอบ ลงโทษทางบวก

->(ข้อสอบครู สพฐ. 63)
ยึดโทรศัพท์มือถือ นักเรียนที่เล่นโทรศัพท์ในเวลาเรียน
ตอบ ลงโทษทางลบ


บิดาจิตวิทยา(จำเป็นต้องท่องจำ)

1. ซิกมันฟรอย
– เป็นบิดาจิตวิทยาวิเคราะห์
– เป็นบิดาจิตวิทยาโลก*

2. วัตสันต์
เป็นบิดาจิตวิทยาพฤติกรรม
บิดาจิตวิทยาแแผนใหม่*

3. วุ้นต์
– เป็นบิดาจิตวิทยาการทดลอง

4. ธอร์นไดร์
เป็นบิดาจิตวิทยาการศึกษา*

5. เฟอร์เบล
– เป็นบิดาจิตวิทยาอนุบาล

6. โรเจอร์ส
– เป็นบิดาจิตวิทยาการแนะนำแบบไม่นำทาง

7. แฟรงพาสัน
– เป็นบิดาจิตวิทยาการแนะแนว

บทสรุป

เนื้อหาเรื่อง จิตวิทยาการศึกษา ผมได้สรุปรวบรวมเนื้อหาอย่างสุดความสามารถ เชื่อว่าทั้งหมดนี้ที่สรุปให้น้องๆได้อ่านกัน มันครอบคลุมประเด็นข้อสอบแล้วแหละครับไม่ต้องเสียเวลาไปติวที่ไหนเลยเรื่องนี้มันจบในหน้านี้


- Advertisement -