ครูรักษ์ถิ่น เป็นโครงการที่ให้โอกาสแก่นักเรียนในพื้นที่ห่างไกลและได้รับโอกาสเป็นครู เพื่อสนับสนุนทุนสร้างโอกาสทางการศึกษา เมื่อเรียนจนจบตามหลักสูตร จะได้รับการบรรจุเป็นครูในโรงเรียนพื้นที่ห่างไกล โครงการครูรักษ์ถิ่น เป็นการให้โอกาสนักเรียนในพื้นที่ห่างไกลและได้รับโอกาสเป็นครู เพื่อสนับสนุนทุนสร้างโอกาสทางการศึกษา
เป้าหมายของโครงการนี้
– เพื่อสนับสนุนทุนสร้างโอกาสทางการศึกษา สำหรับนักเรียนยากจนด้อยโอกาสจากครัวเรือนที่มีรายได้ต่ำที่สุดร้อยละ 20 แรกของประเทศในพื้นที่ห่างไกลที่อยากเป็นครูได้เรียนครูจนจบปริญญาตรีและกลับมาเป็นครูในโรงเรียนท้องถิ่นของตน เมื่อเรียนจนจบตามหลักสูตร จะได้รับการบรรจุเป็นครูในโรงเรียนพื้นที่ห่างไกล
– โครงการครูรัก(ษ์)ถิ่น เป็นการให้โอกาสนักเรียนในพื้นที่ห่างไกลและได้รับโอกาสเป็นครู
การลงนามของ 6 หน่วยงาน ลงนาม MOU ในโครงการ ครูรักษ์ถิ่น
– ถือเป็นโครงการที่มีความต่อเนื่องตั้งแต่ต้นทางถึงปลายทาง
– ช่วยสร้างโอกาสให้นักเรียนยากจนด้อยโอกาสที่มีผลการเรียนอยู่ในเกณฑ์ดีและมีจิตวิญญาณความเป็นครู ได้เรียนครูจนจบปริญญาตรีอย่างมีคุณภาพ มีทักษะความพร้อมสำหรับการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 และได้รับการบรรจุเป็นครูรุ่นใหม่ในโรงเรียนขนาดเล็กในพื้นที่ห่างไกล
การสนับสนุนทุนการศึกษาแก่นักศึกษา โครงการนี้
จะสนับสนุนทุนให้แก่นักศึกษา รุ่นละ 300 ทุนทั้งหมด 5 รุ่น รวม 1,500 ทุน เฉลี่ยทุนละ 160,000 บาท/ทุน/ปี ตั้งแต่ปีการศึกษา 2563 เป็นต้นไป ซึ่งประกอบด้วย
1) ค่าธรรมเนียมการศึกษา
2) ค่าที่พัก
3) ค่าครองชีพรายวัน
4) ค่าตำราและอุปกรณ์การเรียนที่จำเป็น
โครงการ ครูรักษ์ถิ่น จะมีการดำเนินการอย่างไรต่อไป
โครงการครูรักษ์ถิ่นจะดำเนินงานผ่านสถาบันอุดมศึกษาที่เปิดสอนหลักสูตรปริญญาตรี ในสาขาปฐมวัยและประถมศึกษา ทั้งภาครัฐและเอกชน ซึ่งจะมีการคัดเลือกสถาบันเข้าร่วมโครงการราว 10 สถาบัน ครอบคลุมทุกภูมิภาคทั่วประเทศ

โครงการ ครูรักษ์ถิ่น ช่วยแก้ปัญหาเรื่องใด
เป็นการเพิ่มโอกาสให้กับนักเรียนด้อยโอกาสในพื้นที่ห่างไกล ให้ได้รับโอกาสโดยเฉพาะการมีอาชีพ มีการศึกษา มีงานทำ ถือว่าเป็นส่วนสำคัญ
โครงการครูรักษ์ถิ่น มีส่วนสำคัญอย่างยิ่งการคัดเลือกเด็กในพื้นที่ห่างไกลทุรกันดารและขาดโอกาส แต่มีอุดมการณ์ที่จะเป็นครูมาทำหน้าที่ครู ซึ่งเป็นกระบวนการผลิต คัดเลือกที่มีคุณภาพ ร่วมถึงการเสริมสร้างจิตวิญญาณของความเป็นครูกลุ่มนี้จะกลับไปพัฒนาท้องถิ่นของตัวเอง
ซึ่งเป็นการแก้ไขปัญหาสำหรับพื้นที่ห่างไกลกันดารที่ขาดครู รวมถึงการพัฒนาคุณภาพการศึกษา
จะมีการสนับสนุนส่งเสริมการคัดเลือกเด็ก ประสานงานกับกระทรวงอุดมศึกษาฯ ในการผลิตและพัฒนาครูให้มีคุณภาพ
รวมถึงการคัดเลือกสถานศึกษากลุ่มเป้าหมายในการบรรจุและแต่งตั้งครู สรรหาครูตามโครงการ เพื่อให้สามารถบรรจุตามเป้าหมาย
สพฐ.จะมีส่วนช่วยอย่างไร
สพฐ. เป็นหน่วยงานสำคัญที่กำกับดูแลโรงเรียนปลายทาง ซึ่งเป็นโรงเรียนในพื้นที่เป้าหมายในการบรรจุครูเพื่อไปทำงานในพื้นที่ดังกล่าวจากโครงการครูรักษ์ถิ่น
โดยพบว่าโรงเรียน 2,000 แห่ง จาก 30,000 แห่ง ไม่สามารถยุบควบรวมได้ แต่ยังมีปัญหาเรื่องการขาดครู และย้ายออก
โครงการครูรักษ์ถิ่น ที่ร่วมทำกับ กสศ.จะทำให้การขาดครูลดน้อยลง และทำให้เด็กได้ศึกษาเล่าเรียนตามที่ควรจะเป็น โดยโรงเรียนเหล่านี้เป้าหมายอยู่ในพื้นที่สูง ชายขอบ บนเกาะ และโรงเรียนมักไม่มีครูท้องถิ่นสอนอยู่
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)สนับสนุนโครงการครูรักษ์ถิ่นถิ่นอย่างไร
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) สนับสนุนโครงการครูรักษ์ถิ่น โดยมีเหตุผล 3 เรื่องคือ
1) การสร้างคนที่มีความพร้อมรองรับในศตวรรษที่ 21 อย่างโครงการครูรักษ์ถิ่น ถือเป็นโครงการผลิตคนให้เก่ง
2) นำนวัตกรรม องค์ความรู้ ไปพัฒนาประเทศ โดยเฉพาะการระดมสมองช่วยกันเพื่อลดความเหลื่อมล้ำ และให้โอกาสผู้อยู่ในพื้นที่ห่างไกล ถือเป็นยุทธศาสตร์ใหญ่ โครงการนี้จะไปสนับสนุนยุทธศาสตร์ของ อว.
3) ครูคือหัวใจสำคัญของการศึกษา เพราะแม้แต่ในวงการสุขภาพแพทย์มีความสำคัญที่สุด ดังนั้นในวงการศึกษาครูถือว่ามีความสำคัญที่สุดเช่นกัน

- เทคนิคการอ่านหนังสือ เรื่องลักษณะการเป็นข้าราชการที่ดี สำหรับสอบครู
- ข้อสอบวิชาชีพครู จะออกแบบไหน เกี่ยวกับอะไรที่เราไม่ควรพลาด ในการสอบครูผู้ช่วย
- ครูผู้ช่วย 2564 ทำอย่างไรจึงได้เป็นข้าราชการครู
- เคล็ดลับแก้การอ่านหนังสือสอบไม่เข้าใจ และอ่านไม่ทน
- ข้อสอบจริงครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ 2560(ความรอบรู้)
- แค่รู้สิ่งเหล่านี้ สอบบรรจุครูติดล้าน%
- ครูผู้ช่วย 2563 สอบอะไรบ้าง
- ทำยังไงถึงจะสอบติดครู ถ้าเราไม่เก่ง มีแนวทางอย่างไร
- ทำไมจึงเปิดสอบครูผู้ช่วยช้า
- วิธีเตรียมสอบครูผู้ช่วยให้รู้จุดสำคัญ EP2.




- กฎหมายการศึกษา
- ความรอบรู้และนโยบายการศึกษา
- ความรู้ความสามารถทั่วไป
- ความรู้และการเป็นข้าราชการที่ดี
- คัดข่าวมาเล่าต่อ
- วิชาการศึกษา
- วิชาชีพครู
- วิชาเอกครูผู้ช่วย
- ห้องสื่อการเรียนรู้
- เทคนิคในการสอบครูผู้ช่วย
- ไม่มีหมวดหมู่