ข้าราชการที่ดี, ข้อสอบข้าราชการที่ดี, ครูผู้ช่วย , ข้อสอบครูผู้ช่วย
- Advertisement -

ในหัวข้อเรื่องเรื่อง ความรู้และลักษณะการเป็น ข้าราชการที่ดี จะเป็นเนื้อหาที่ตรงกันกับสนามสอบของ กพ. เพราะในปี 2563 สำหรับคนที่จะสอบเข้ารับราชการครู จะต้องใช้การสอบเกณฑ์ใหม่ ซึ่งภาค ก ใช้หลักสูตรการสอบเช่นเดียวกับ กพ. นั่นเอง แต่วันนี้เราจะเจาะในหัวข้อเฉพาะ เรื่องที่เนื้อหาค่อนข้างจะเยอะพอสมควรแหละ เฉพาะครูสังกัด สพฐ. นะครับที่เปลี่ยนไปใช้เกณฑ์ใหม่นี้

ถ้ายังไม่เคยดูเกณฑ์ใหม่ท่านสามารถเข้าไปดูได้ที่บทความ เทคนิคการเตรียมสอบครูผู้ช่วย ตอนที่ 1 สิ่งที่ต้องทราบ

ทำไมครูผู้ช่วยต้องสอบวิชา ความรู้และลักษณะการเป็นข้าราชการที่ดี..?

ผมได้ไปเจอบทความหนึ่งของของ สำนักงาน กพ. ที่เขียนเล่าไว้ว่า ช่วงหลังๆมีข่าวเสียๆหายๆ เกี่ยวกับการประพฤติของข้าราชการ ซึ่งเรียกรับผลประโยชน์ หรือประพฤติผิดจรรยาบรรณต่างๆมากมาย ทำให้เกิดความเสื่อมเสียโดยรวมของข้าราชการ และบางคนเข้าใจว่าตัวเองเป็นข้าราชการเป็นอภิสิทธิ์ชน อวดเบ่งอำนาจตัวเอง จึงต้องมีการเพิ่มวิชาการสอบเรื่องนี้เข้ามา เพราะเขาเชื่อว่า การได้รู้กฎระเบียบ จรรยาบรรณของข้าราชการก็จะช่วยให้เรายั้งคิดยั้งทำในสิ่งที่ผิดได้

ข้อสอบข้าราชการที่ดี ออกอะไรบ้าง..?

เป็นสิ่งที่สำคัญมากหลายคนชอบอ่านหนังสือที่ซื้อมาโดยที่ไม่สนใจว่ามีเนื้อหาเรื่องไหนบ้าง เพราะถ้าเรารู้เรื่องที่จะสอบบางที่เราอาจไม่ต้องเสียเงินซื้อหนังสือแพงๆจากสำนักต่างๆ ซึ่งบางที่อาจสรุปไม่ได้เท่าเราเองเสียด้วยซ้ำจริงไหม ว่าแล้วก็มาดูกันเลยวาสเขาสอบ กฎหมายเรื่องอะไรบ้าง สำหรับเรื่อง ข้าราชการที่ดี หรือเรียกชื่อเต็มๆว่า ความรู้และลักษณะการเป็นข้าราชการที่ดี
1. พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน 2534 และแก้ไขเพิ่มเติม
2. พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี 2546 และแก้ไขเพิ่มเติม
3. พระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง 2539 และแก้ไขเพิ่มเติม
4. ประมวลกฎหมายอาญา 2499 ในส่วนของความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ
5. พระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ 2539
6. พระราชบัญญัติมาตรฐานทางจริยธรรม 2562

ในประเด็นที่เป็นกฎหมายเกี่ยวกับ ข้าราชการที่ดี ที่ท่านจะต้องสอบในสนามสอบ ครูผู้ช่วย ผมแนะนำว่าถ้าใครที่อยากจะอ่านต้นฉบับจริง สามารถนำชื่อ กฎหมายเหล่านี้ไปค้นใน google ได้เลย และอย่าลืมว่ากฎหมายบางตัวที่มีคำว่า แก้ไขเพิ่มเติม ก็จะต้องโหลดเนื้อหาที่แก้ไขเพิ่มเติมมาประกอบการอ่านด้วย

บางครั้งสำหรับคนที่ยังไม่เคยอ่านกฎหมายมาก่อน ก็จะเป็นเรื่องที่ค่อนข้างยากเลียทีเดียว ยังไงก็ถ้าใครไม่ไหวจริงๆก็ เอาไว้อ่านหลังจากอ่านเนื้อหาที่เป็นหนังสือสำนักต่างๆแล้วก็ได้ แต่มันจำเป็นที่ท่านจะต้องรู้เนื้อหาหลักที่เป็นแบบ ออริจินอลเช่นกัน เนื่องจากข้อมูลในสำนักต่างๆที่ขายกันเขาตัดเนื้อหาบางส่วนออกไป เพื่อให้กระชับและง่ายต่อการอ่าน แต่ก็อาจเป็นข้อเสียได้เพราะ เป็นการวัดใจกับผู้ออกข้อสอบ ซึ่งไม่มีใครรู้ได้แน่นอนว่า สิ่งที่เราไม่ได้อ่านเขาจะเอามาออกหรือไม่ ที่เรียกว่า ออกข้อสอบหลบสำนักติวต่างๆ ถ้ารอบไหนใครเจอแบบนี้เข้าก็ถือว่า ซวยมากๆ ถ้าไม่ได้อ่านตัวเต็มครับ

มาตราต่างๆต้องจำไหม …?

ผมว่ามันค่อนข้างไร้สาระด้วยซ้ำถ้าใครจะมาถามแบบนี้ โอกาสออกน้อยมากๆ และโดยเฉพาะ พ.ศ. ประกาศใช้ บังคับใช้ยิ่งโอกาสออกน้อยจริงๆ แต่มีข้อยกเว้นสำหรับ กฎหมายฉบับไหนที่เพิ่งแก้ไขเพิ่มเติมในปีที่กำลังจะสอบ เขาก็มีสิทธิ์ถาม เอาเป็นว่าถ้าจะไปจำตัวเลขเหล่านี้ก็จะแค่เพียงเกี่ยวกับ พ.ศ. ที่แก้ไขเพิ่มเติมใหม่จริงๆครับ

อ่านกฎหมาย แล้วไม่รู้เรื่องต้องทำไง..?

การอ่านหนังสอบ ไม่เหมือนกับการอ่านนิยาย หรือหนังสือทั่วไปที่อ่านผ่านๆ รอบเดียวแล้วเข้าใจได้เลย เพราะเราต้องนำองค์ความรู้ไปใช้ในการสอบต่อ ซึ่งการอ่านเพียงผ่านๆย่อมทำให้เราไม่เข้าใจอย่างแน่นอน ต่อให้เราอ่านผ่านๆสิบรอบก็ยังทำข้อสอบไม่ได้เหมือนเดิม

แล้วต้องทำอย่างไรหละถึงจะอ่านกฎหมาย ข้าราชการที่ดี รู้เรื่อง

มันต้องมีการขีดเขียนด้วยเวลาอ่านครับ สรุปบ่อยๆถ้าใครเป็นหนอนหนังสือก็ไม่ใช่เรื่องยาก ปัญหาที่ผมเป็นห่วงคือ น้องๆที่ไม่ชอบอ่านหนังสือไม่ใช่ว่าจะไม่มีนะครับ คือเรียนจบมาก็จริงแต่ไม่ได้ติดการอ่านหนังสือ หรือสรุปอะไรเยอะๆ พอเอาเข้าจริง ลูกศิษย์บางคนที่ถ่ายภาพหนังสือที่สั่งซื้อกับทาง บ้านของครูไปนี่ ขีดไฮไลท์แทบจะทุกคำเลย ไม่เอาแบบนี้นะครับ 55

ลองสรุปไปทีละมาตรา หรือถ้าจะให้ดีก็กางข้อสอบไปพร้อมเลย เปิดเอาข้อสอบเรื่อ ข้าราชการที่ดีมา แล้วฝึกทำไปทีละข้อ ข้อไหนตอบอย่างไร ตัวลวงมันผิดเพราะอะไร เอาแบบทำนองที่ว่า เฉลยละเอียดเอาไว้อ่านเองเลย แบบนี้ถึงเราได้ข้อสอบที่ล้าสมัยมาจากรุ่นพี่ เราก็แยกได้ว่ามันต้องปรับตรงไหน

ยิ่งเราถึงขั้นออกข้อสอบเอง เพื่อฝึกได้นี่ไม่ต้องห่วง เพราะคนที่จะไปเป็นครูจะต้องออกข้อสอบเพื่อสอบนักเรียนอยู่แล้วจริงไหม ก็ถ้าจะออกข้อสอบเพื่อสอบตัวเองมันจะเสียหายอะไร จริงไหม

สรุปว่า มันไม่มีวิธีที่แน่นอนหรอก ขึ้นว่าเราทดลองวิธีไหนแล้วเรารู้สึกว่าสนุกไปกับมัน ไม่เบื่อ ทำแล้วเข้าใจ เราก็ไม่ต้องไปฟังใคร ลองทำในแบบฉบับของเราเอง จะดีกว่า เนื่องจากความเข้าใจของแต่ละคนมันไม่เหมือนกันจริงๆ บางคนชอบฟัง ก็อัดเสียงตัวเองอ่านใส่โทรศัพท์ไปฟังและกับเพื่อนก็ได้ ใครชอบให้คนอื่นสอน เรื่อง กฎหมายของ ความรู้และลักษณะการเป็นข้าราชการที่ดี มีคนทำคลิปสรุปเจ๋งๆใน youtube มากมายสอนฟรีอีกต่างหาก เราไม่ต้องไปเสียเงินติวเลย ถ้ามองข้ามนะครับ

บ้านของครู มีแนวข้อสอบข้าราชการที่ดีไหม…?

มีสิครับลงข้อสอบในรูปแบบออนไลน์ให้ฝึกกันฟรีๆ หลายชุดเลย แต่ผมรวบรวมมาทุกกฎหมายที่เกี่ยวกับ ข้าราชการที่ดี ให้ฝึกกันในด้านล่างนี้คลิกเข้าไปฝึกกันได้เลยครับ

แนวข้อสอบ

ความรู้และลักษณะการเป็นข้าราชการที่ดี ชุดที่ 1
ความรู้และลักษณะการเป็นข้าราชการที่ดี ชุดที่ 2
ความรู้และลักษณะการเป็นข้าราชการที่ดี ชุดที่ 3

ถ้าอยากให้ บ้านของครู MR.KRON ลงข้อสอบเพิ่มให้ก็อย่าลืมแชร์บทความนี้ไปให้เพื่อนๆที่กำลังเตรียมสอบด้วยหละ ผมเขียนขึ้นมาด้วยใจเพื่อหวังจะเป็นวิทยาทานแก่น้องๆ ที่เตรียมสอบแต่ไม่รู้จะเริ่มอย่างไร เพื่อเป็นกำลังใจ มาเป็นข้าราชการครูด้วยกันครับ

อ้างอิง

สำนักงาน กพ.

- Advertisement -