ครูผู้ช่วย , วิชาชีพครู , ข้อสอบวิชาชีพครู มาตรฐานวิชาชีพครู
ครูผู้ช่วย , วิชาชีพครู , ข้อสอบวิชาชีพครู มาตรฐานวิชาชีพครู

เป็นที่สงสัยของหลายคนในการเตรียมตัวสอบ ครูผู้ช่วย 2564 ในหัวข้อของ วิชาชีพครูหรือ ข้อสอบวิชาชีพครู ยังมีการสอบอยู่หรือไหม บทความนี้จะอธิบายให้น้องๆว่าที่ครูผู้ช่วยฟังว่ามีการเปลี่ยนแปลงอย่างไร เพราะคนที่รู้สิ่งเหล่านี้จะเป็นผู้ที่มีโอกาสสอบได้คะแนนสูงกว่าคนอื่นๆ ที่บอกแบบนี้ก็เพราะว่าชัยชนะมักจะเป็นของคนที่รู้กติกกามากกว่าคนที่สู้แบบไม่รู้กติกาในการสอบเลย จริงไหม

การเปลี่ยนแปลงของเนื้อหาการสอบครูผู้ช่วย( วิชาชีพครู )

นับตั้งแต่ ปี 2563 เป็นต้นไป ได้มีการเปลี่ยนแปลงหลักสูตรการสอบครูผู้ช่วย ในการสอบภาค ก อิงเกณฑ์การสอบของ กพ. ทำให้น้องๆหลายคนที่กำลังอ่านหนังสืออยู่เกิดความสับสนมากพอสมควร และได้ย้ายวิชาชีพครู หรือ มาตรฐานความรู้และประสบการวิชาชีพจากที่เคยสอบในภาค ก มาอยู่ในภาค ข น้อยคนนักจะรู้ว่าภายในมีกรอบเนื้อหาอะไรที่สำคัญนอกจาก การดูที่ชื่อเรื่องในเกณฑ์การสอบ

วันนี้ทางบ้านของครู จะมาเล่าให้ฟังว่า กรอบจริงๆของมันควรจะเป็นแบบไหน เพราะหนังสือที่เราพบเจอกันในออนไลน์ที่เราสั่งซื้อมานั้น ตรงตาม Test Blueprint ข้อสอบวิชาชีพครู แค่ไหนที่เขาใช้ในการออกข้อสอบ แต่ในบทความนี้จะเน้นในส่วนของ วิชาชีพครู นะครับ หัวข้ออื่นๆเจอได้เขียนเล่าให้ฟังในโอกาสหน้าต่อไป

วิชาชีพครู มีโอกาสออกข้อสอบในเรื่องไหนบ้าง…?

มาตรฐานความรู้หรือสมรรถนะทางวิชาชีพครูตามมาตรฐานวิชาชีพที่คุรุสภากำหนดดังนี้

1. มีความรอบรู้และเข้าใจในเรื่องการเปลี่ยนแปลงบริบทของโลก สังคม และแนวคิดของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
2. มีความรอบรู้และเข้าใจในเรื่องจิตวิทยาพัฒนาการ จิตวิทยาการศึกษา และจิตวิทยาให้คำปรึกษาในการวิเคราะห์และพัฒนาผู้เรียนตามศักยภาพ
3. มีความรอบรู้และเข้าใจในเรื่องหลักสูตร ศาสตร์การสอน และเทคโนโลยีดิจิทัลในการจัดการเรียนรู้
4. มีความรอบรู้และเข้าใจในเรื่องการวัดประเมินผลการเรียนรู้ และการวิจัยเพื่อแก้ปัญหาและพัฒนาผู้เรียน
5. มีความรอบรู้และเข้าใจในเรื่องการออกแบบ และการดำเนินการเกี่ยวกับงานประกันคุณภาพการศึกษา

ข้อสอบวิชาชีพครู จะออกในเนื้อหาตามนี้ในส่วน วิชาชีพครู ซึ่งมีรายละเอียดจะเล่าให้ฟังต่อไป

ใน 5 หัวข้อหลักด้านบนนี้ใน ข้อสอบ วิชาชีพครู ที่ท่านจะต้องไปเจอในข้อสอบจะมีเนื้อหาสาระย่อยอะไรบ้าง

ข้อสอบวิชาชีพครู ,วิชาชีพครู , มาตรฐานวิชาชีพครู , ครูผู้ช่วย

1.การเปลี่ยนแปลงบริบทของโลก สังคม และแนวคิดของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

1.1 การเปลี่ยนแปลงบริบทและแนวโน้มของโลกและสังคมที่ส่งผลกระทบต่อการศึกษา

  • นโยบาย กฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ และการเมือง
  • สภาวะเศรษฐกิจและการดำรงชีวิต
  • นวัตกรรมและเทคโนโลยี
  • การศึกษาเพื่อพัฒนาที่ยั่งยืน ด้านสังคม วัฒนธรรม สิ่งแวดล้อม และสุขภาพ

1.2 การนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ในการดำรงชีวิตทุกระดับ

  • ความหมาย ความสำคัญ หลักการ
  • การประยุกต์ใช้เพื่อพัฒนาตน เพื่อพัฒนาตน พัฒนาผู้เรียน พัฒนางาน และ พัฒนาชุมชน

2. จิตวิทยาพัฒนาการ จิตวิทยาการศึกษา และจิตวิทยาให้คำปรึกษาในการวิเคราะห์และพัฒนาผู้เรียนตามศักยภาพ

ครูผู้ช่วย , วิชาชีพครู , ข้อสอบวิชาชีพครู มาตรฐานวิชาชีพครู

2.1 เข้าใจธรรมชาติของผู้เรียน

  • วิธีการที่เหมาะสมในการรวบรวมข้อมูลของผู้เรียน
  • การวิเคราะห์ความแตกต่างของผู้เรียนบนพื้นฐานของข้อมูลที่เชื่อถือได
  • จำแนกธรรมชาติของผู้เรียนในด้านต่างๆ (บุคลิกภาพ ความถนัด ความสนใจ อารมณ์ สังคม สติปัญญา)
  •  สามารถสังเคราะห์แบบการเรียนรู้ (learning style)ของผู้เรียนได้ตรงตามสภาพความเป็นจริง

2.2 ช่วยเหลือและสนับสนุนการเรียนรู้ของผู้เรียนให้เต็มตามศักยภาพ

  • การสร้างบรรยากาศการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับแบบการเรียนของผู้เรียนได้
  • มีบุคลิกภาพความเป็นครูในการกระตุ้นและส่งเสริมการเรียนรู้และกระบวนการคิดของผู้เรียนตามความแตกต่างระหว่างบุคคล (การสร้างแรงจูงใจ การตั้งคำถาม การยอมรับ ความคิดเห็น เป็นต้น)
  • สามารถนำแนวคิดทางจิตวิทยามาพัฒนานวัตกรรมที่ส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียนได้(การใช้เกม เพลง)

2.3 ให้คำแนะนำช่วยเหลือผู้เรียนให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นได้

  • ระบุพฤติกรรมที่เป็นปัญหาและสาเหตุได้อย่างสมเหตุผล
  • วิเคราะห์ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับปัญหาและการแก่ไขปัญหาได้อย่างสมเหตุสมผล
  • กำหนดกระบวนการแก้ปัญหาและช่วยเหลือผู้เรียนได้

3. หลักสูตร ศาสตร์การสอน และเทคโนโลยีดิจิทัลในการจัดการเรียนรู้

3.1 หลักสูตร

  • กระบวนการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญและเป็นไปตามความต้องการของ ท้องถิ่น (การศึกษาข้อมูลพื้นฐาน การร่างหลักสูตร การตรวจก่อนใช้ การปรับปรุง การใช้และบริหาร จัดการ การประเมินหลักสูตร และการปรับปรุงหลักสูตร)
  • ลักษณะหลักสูตรสถานศึกษาเพื่อผู้เรียนเป็นสำคัญและสอดคล้องกับท้องถิ่น (เน้นการอธิบายแต่ละองค์ประกอบของหลักสูตร)
  • การวิจัยและพัฒนาหลักสูตร (R&D) ที่เป็นระบบและเชื่อถือได้และมีความเป็นนวัตกรรม
  • หลักสูตรหรือแผนการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการและเชื่อมโยงกับวิถีชีวิต
  • การใช้นวัตกรรมของโลกยุคใหม่เพื่อการพัฒนาหลักสูตร (PLC, AI, BIG DATA, Blockchain, Social Lab or Coding etc

3.2 ศาสตร์การสอน

  • พฤติกรรมการจัดการเรียนรู้ของครูที่ยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ (วางแผนการสอน, การจัดการเรียนรู้ (พฤติกรรมครู นักเรียน), สรุป, เชื่อมโยงการเรียนรู้, วัดประเมินผลเพื่อพัฒนาต่อยอดการสอนของครู และการเรียนรู้ของนักเรียน)
  • การเรียนการสอนแบบบูรณาการหรือแบบองค์รวมเพื่อพัฒนาสู่การเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ (เก่ง ดี มี สุข/พุทธิพิสัย ทักษะพิสัย จิตพิสัย/KAP/Head Hand Heart)
  • การจัดองค์ประกอบการเรียนการสอนที่ดีให้มีลักษณะที่ดี (ครู ผู้เรียน วัตถุประสงค์ เนื้อหา กิจกรรม และสื่อ การจัดการชั้นเรียนและสิ่งแวดล้อมเพื่อการเรียนรู้การวัดประเมินผล)

3.3 หลักสูตรและเทคโนโลยี

  • การประยุกต์ใช้และสร้างเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการจัดการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพและเหมาะสม

4. การวัด ประเมินผลการเรียนรู้ และการวิจัยเพื่อแก้ปัญหาและพัฒนาผู้เรียน

4.1 การวัด ประเมินผลการเรียนรู้

  • การวัดผลการเรียนรู้
  • 1) หลักการวัดผลการเรียนรู้
  • 2) วิธีการและเครื่องมือวัดผลการเรียนรู้
  • การประเมินผลการเรียนรู้ 
  • 1) หลักการประเมินผลการเรียนรู้ 
  • 2) เกณฑ์การประเมินผลการเรียนรู้(อิงกลุ่ม อิงเกณฑ์ Rubric)  
  • 3) การรายงานผลการประเมิน
  • การนำผลประเมินไปใช้
  • 1) การนำผลการประเมินไปใช้ในการแก้ปัญหาและพัฒนาผู้เรียน 
  • 2) การนำผลการประเมินไปใช้ในการพัฒนาการเรียนการสอน

4.2 การวิจัยเพื่อแก้ปัญหาและพัฒนาผู้เรียน

  • การวิเคราะห์ปัญหาและออกแบบการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ 
  • 1) การวิเคราะห์ปัญหาการเรียนรู้ 
  • 2) การออกแบบการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้

5. การออกแบบ และการดำเนินการเกี่ยวกับงานประกันคุณภาพการศึกษา

  • อธิบายความสัมพันธ์และความแตกต่างของการประกันคุณภาพการศึกษาภายในและการประกันคุณภาพ การศึกษาภายนอกได้
  • สามารถวิเคราะห์จุดเด่น จุดด้อย อุปสรรคของการประกันคุณภาพการศึกษาของประเทศได
  • ประยุกต์ผลการประกันคุณภาพไปใช้ในการจัดการเรียนการสอน
  • ประยุกต์ใช้ผลการประกันคุณภาพไปใช้ในการวางแผนพัฒนา

การนำประเด็น ข้อสอบวิชาชีพครู ไปใช้ในการเตรียมสอบครูผู้ช่วย

ทั้งรายละเอียดที่เรา นำเสนอ วิชาชีพครู ไปนี้ เป็นเข็มทิศชั้นยอดในการอ่านหนังสือสำหรับสอบเกณฑ์ใหม่ ถ้าหนังสือที่น้องๆกำลังอ่านอยู่ มีเรื่องไหนตรงตามที่บ้านของครูนำเสนอ แปลว่า ใช้อ่านได้อย่างมั่นใจ

คุณมาถูกทางแล้ว แต่ถ้ายังไม่มีเราต้องช่วยตัวเองในการค้นหาข้อมูลมาอ่านเพิ่มแล้วหละ คุณจะไว้ใจฝากชีวิตไว้กับหนังสือที่สำนักติวเขียนขึ้นมาโดยที่ไม่ตรงเกณฑ์การสอบ และตัวชี้วัดของเขา จะเป็นสิ่งที่อันตรายมาก

การแนะนำแบบที่ทางบ้านของครูแนะนำคือ เป็นสิ่งที่แนะนำด้วยใจไม่ได้หวังผลประโยชน์อะไรเลย เพราะเรารู้ดีว่า แต่ละสำนักไม่สามารถที่จะเขียนหนังสือให้ตรงตามเกณฑ์ใหม่ได้ทันอย่างแน่นอน มีเพียงการนำเนื้อหาในหนังสือ หลักสูตรเดิมมาปรับปรุงนิดๆหน่อยๆ แล้วรีบจำหน่าย ซึ่งก็จะมีบางส่วนที่ตรงกับหลักสูตรใหม่

ย้ำว่าในหัวข้อย่อยๆ จะไม่ตรงกัน ซึ่งถ้าเราอยากสอบให้ประสบความสำเร็จเราต้องนำ แผนที่และเข็มทิศที่ บ้านของครูมอบให้ไป ใช้ในการตรวจสอบและเป็นตัวเทียบเคียง เช็คในการอ่าน เพื่อจะได้ไม่เสียเวลานั่นเอง

ครูผู้ช่วย , วิชาชีพครู , ข้อสอบวิชาชีพครู มาตรฐานวิชาชีพครู

ข้อสอบวิชาชีพครู ที่เคยอ่านกับทางสำนักติวต่างๆ

แนะนอนว่ามีส่วนที่ตรงบ้างไม่ตรงบ้างแต่ยังสามารถนำไปประยุกต์ในการฝึกฝนได้ แต่ก็อาจจำไม่มีบางส่วนที่ตรง เราจึงต้องตรวจสอบให้แน่ใจเวลาฝึกจะได้ไม่เสียเวลา แต่จริงๆแล้วข้อสอบส่วนใหญ่ใช้ได้ แต่มันแค่ไม่ครบตามเรื่องที่เขาจะสอบนั่นเอง

วิธีการแก้ปัญหานี้ เมื่อเราหาเนื้อหามาอ่านเพิ่มได้ตามหัวข้อเหล่านี้ได้แล้ว ก็ให้ตั้งคำถามและคำตอบเอง หรือจะแลกเปลี่ยนกับเพื่อนๆก็ได้ เพราะถ้าเราได้ฝึกตั้งคำถามเองในเรื่องที่อ่านจนหมดทุกมุม บางทีเมื่อเราไปเข้าสอบเจอข้อสอบในสนามจริง มันก็จะไม่ใช่เรื่องยากสำหรับเราอีกต่อไป เพราะบางทีมันอาจตรงกับข้อของเราเอง

ชวนเพื่อนอ่านหนังสือสร้างสรุปด้วยตัวเอง

ในข้อสอบวิชาชีพครู มันไม่ใช่เรื่องง่ายๆเลยที่เราจะไปหาข้อมูลด้วยตัวคนเดียวครบถ้วน แต่ถ้าเราสามารถจับคู่กับเพื่อนที่เราสนิท แล้วแบ่งกันค้นหามาช่วยกัน แล้วก็ลงมือช่วยกันสรุป ข้อสอบวิชาชีพครู แลกกันอ่าน หรือออกข้อสอบให้กันทำเลย สิ่งเหล่านี้เราก็ไม่จำเป็นจะต้องพึ่งพาสำนักติวให้เสียเงิน หรือการออกไปติวก็ควรจะเป็นการทบทวนก่อนการเข้าสนามสอบจริง นั่นเอง

การที่หลายคนหวงความรู้กลัวเพื่อนจะเก่งกว่าเรา คนประเภทนี้มักจะไม่มีความสุข และสุดท้ายก็จะไม่ประสบความสำเร็จหรอก เชื่อสิว่า คู่แข่งในการสอบครูผู้ช่วยที่น่ากลัวก็ คือ ความขี้เกียจของเรานั่นแหละ ถึงบางสนามสอบที่เราไปสอบพร้อมกับเพื่อน เขาประกาศรับตำแหน่งครูผู้ช่วยแค่ 1 ตำแหน่ง แต่พอเอาเข้าจริงแล้วมันมีการเรียกบรรจุหลายรอบ ด้วยเหตุนี้มันจึงไม่ใช่สิ่งที่เราต้องไปกังวล ทำยังไงก็ได้ให้เราสามารถสร้างเครือข่าย แห่งการเรียนรู้ ช่วยกันติวสอบ แบ่งปันสิ่งดีๆ สิ่งเหล่านี้ช่วยน้องๆได้มากกว่า การเห็นแก่ตัว

การเอาชนะคู่ในการสอบครูผู้ช่วย

เอาจริงๆแล้ว คู่แข่งที่เราควรเอาชนะไม่ใช่ใคร มันคือ ตัวเราเองในเมื่อวาน เพราะถ้าเรายังชนะคนที่หยุดพัฒนาการแล้วไม่ได้ ก็แปลว่าเรานั้นคงห่วยมากๆ เมื่อวานมันผ่านไปแล้ว มันจบแค่นั้น ถ้าเราทำยังไงก็ได้ให้เก่งกว่าเมื่อวาน ไม่ใช่ชอบอกว่า เมื่อก่อนเราเก่งแบบนั้นแบบนี้ คำพูดของคนที่อ้างแบบนี้บ่อยๆ คือคนขี้แพ้นั่นแหละ

ถ้าคุณอยากเอาชนะตัวเองในเมื่อวานได้ลองอ่านบทความที่ผมได้เคยเขียน ซึ่งก็คือ เทคนิคการสอบครูผู้ช่วย​ ตอน เอาชนะคู่แข่งได้อย่างไร แล้วถ้าบางคนพยายามสอบครูผู้ช่วยแล้วหลายครั้งก็ยังไม่ประสบความสำเร็จ คุณก็สามารถอ่านบทความที่มีชื่อว่า ทำยังไงถึงจะสอบติดครู ถ้าเราไม่เก่ง มีแนวทางอย่างไร

แหล่งเรียนรู้อื่นๆในการสอบครูผู้ช่วยในเครือของเราได้แก่ แฟนเพจ บ้านของครู MR.KRON

ช่อง youtube บ้านของครู

เพิ่มเพื่อน

อ้างอิง

หลักเกณ์การสอบวิชาชีพครู

ครุสภา