แนวข้อสอบจริงครูผู้ช่วย , แนวข้อสอบครูผู้ช่วย , ข้อสอบ ม.สวนดุสิต ข้อสอบจริงวิชาการศึกษา ข้อสอบครุผู้ช่วย ข้อสอบจิตวิทยาการศึกษา จิตวิทยาและการแนะแนว ข้อสอบจิตวิทยา

ข้อสอบชุดนี้มีจำนวน 10 ข้อที่คัดมาแล้ว เพราะว่าเป็นแนวข้อสอบจริงครูผู้ช่วย ม.สวนดุสิต 2563 ซึ่งทางบ้านของครูได้นำมาปรับปรุงแต่งตัวเลือกเพิ่มให้สมบูรณ์ ซึ่งคงความเป็นแก่นของเรื่องที่ข้อสอบถามในเรื่อง จิตวิทยาการศึกษาฯ ตามเกณฑ์ใหม่ของทางสพฐ.

จงเลือกคำตอบให้ถูกต้อง(ข้อสอบจริงครูผู้ช่วย 2563)

1.ความหมายที่ยอมรับในปัจจุบันของวิชาจิตวิทยา คือ
  ก. พฤติกรรม
  ข. กระบวนการของจิต
  ค. อาศัยวิธีการเชิงวิทยาศาสตร์ในการค้นหาความรู้
  ง. ถูกทุกข้อ

เฉลย ง. ถูกทุกข้อ
อธิบาย จิตวิทยาการศึกษา หมายถึง วิชาที่ศึกษาพฤติกรรมต่างๆที่เกี่ยวข้องกับสถานการณ์ การเรียนการสอนรวมทั้งกระบวนการของจิต โดยเน้นพฤติกรรมการเรียนรู้ การพัฒนาความสารถของผู้เรียน ตลอดจนวิธีนำความรู้ความเข้าใจที่เกิดขึ้นมาใช้ในกระบวนการจัดการเรียนการสอน


2.เด็กง่วงนอนทำให้เรียนไม่รู้เรื่องสอดคล้องกับกฎข้อใดของธอร์นไดค์
  ก. กฎแห่งความพร้อม

  ข. กฎแห่งการฝึกหัด
  ค. กฎแห่งความพอใจ
  ง. ถูกทุกข้อ

เฉลย ก. กฎแห่งความพร้อม
อธิบาย ธอร์นไดด์ มีกฎการเรียนรู้ที่ 3 ข้อคือ
      1) กฎแห่งความพร้อม (
Low of Readiness) 

      2) กฎแห่งการฝึกหัด (Low of Exercise)
      3) กฎแห่งพอใจ (Low of Effect)


3.การหยั่งเห็นเป็นทฤษฎีของใคร
  ก. Edward Thorndike
  ข. Wolfgang Kohler
  ค. B. F. Skinner
  ง. John Dewey

เฉลย ข. Wolfgang Kohler
อธิบาย ทฤษฎีการหยั่งรู้นี้เป็นการศึกษาทดลองของนักจิตวิทยาชาวเยอรมันซึ่งเรียกว่า กลุ่มเกสตัลท์ ซึ่งประกอบด้วยนักจิตวิทยาที่สำคัญ 3 คน คือ เวอร์ไทเมอร์ คอฟฟ์ก้า และ โคห์เลอร์(Wolfgang Kohler)


4.ข้อใดคือพฤติกรรมภายใน
  ก. การนั่ง

  ข. คลื่นสมอง
  ค. การเดิน
  ง. การนึกคิด

เฉลย ง. การนึกคิด
อธิบาย พฤติกรรมแบ่งออกเป็น 2 ประเภท
   1) พฤติกรรมภายนอก เป็นการกระทำที่แสดงออกมาให้สังเกตเห็นได้ รับรู้ได้ใช้เครื่องมือตรวจสอบได้
       – การสังเกตเห็นได้ด้ายตาเปล่า เช่น  การนอน การยืน ฯลฯ

       – การใช้เครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ตรวจสอบ เช่น คลื่นสมอง คลื่นหัวใจ ความดันโลหิต เป็นต้น
  2) พฤติกรรมภายใน คือ ความในใจ เป็นพฤติกรรมที่เจ้าตัวเท่านั้นจึงจะรู้ดี หากไม่บอกใครไม่แสดงออกก็ไม่มีใครรู้ได้ดีเช่น  การจำ การนึกคิด จินตนาการ การฝัน เป็นต้น

อ่านเพิ่มเติมได้ที่ สรุปจิตวิทยาการศึกษา


5.ครูให้คะแนนเพิ่ม 10 คะแนน กับนักเรียนที่แต่งโคลงสี่สุภาพได้ดี
  ก. การเสริมแรงบวก
  ข. การเสริมแรงลบ
  ค. ลงโทษทางบวก
  ง. ลงโทษทางลบ

เฉลย ก. การเสริมแรงบวก
อธิบาย การเสริมแรงทางบวก
    – เป็นการให้สิ่งที่บุคคลพึงพอใจ
    – มีผลทำให้บุคคลแสดงพฤติกรรมถี่ขึ้น
    – ตัวอย่างการเสิรมแรงทางบวก คำชมเชย รางวัล อาหาร


6.ครูให้งานคัดคำศัพท์ 10 หน้า แต่บอกกับนักเรียนว่าถ้าตั้งใจเรียนจะลดให้เหลือคัดคำศัพท์ 5 หน้า
  ก. การเสริมแรงบวก
  ข. การเสริมแรงลบ
  ค. ลงโทษทางบวก
  ง. ลงโทษทางลบ

เฉลย ข. การเสริมแรงลบ
อธิบาย การเสริมแรงทางลบ
    – เป็นสิ่งเร้าชนิดใดชนิดหนึ่ง เมื่อตัดออกไปจากสถานการณ์นั้นแล้วจะมีผลให้อัตราการตอบสนองเปลี่ยนไปในลักษณะดีขึ้น
    – ตัวอย่างการเสริมแรงทางลบ เช่น เสียงดัง แสงสว่างจ้า คำตำหนิ ร้อนหรือเย็นเกินไป เป็นต้น


7.ครูให้นักเรียนคัดคำศัพท์ 20 คำ เพราะว่านักเรียนไม่ทำการบ้านมาส่ง
  ก. การเสริมแรงบวก
  ข. การเสริมแรงลบ
  ค. ลงโทษทางบวก
  ง. ลงโทษทางลบ

เฉลย ค. ลงโทษทางบวก
อธิบาย การลงโทษทางบวก 
   – เป็นการนำเสนอสิ่งเร้าที่ไม่พึงปรารถนาออกหลังจากแสดงพฤติกรรม
   – ผลที่ตามมาในอนาคตคือพฤติกรรมมีแนวโน้มลดลง
   – เช่น นักเรียนถูกดุเมื่อทำงานที่ได้รับมอบหมายไม่เสร็จ


8.ยึดโทรศัพท์มือถือ นักเรียนที่เล่นโทรศัพท์ในเวลาเรียน
  ก. การเสริมแรงบวก
  ข. การเสริมแรงลบ
  ค. ลงโทษทางบวก
  ง. ลงโทษทางลบ

เฉลย ง. ลงโทษทางลบ
อธิบาย การลงโทษทางลบ
   – เป็นการนำสิ่งเร้าที่พึงปรารถนาออกหลังจากแสดงพฤติกรรม
   – ผลที่ตามมาในอนาคต คือ พฤติกรรมมีแนวโน้มลดลง
   – เช่น นักเรียนถูกงดการได้อภิสิทธิ์หรือสิทธิพิเศษบางประการเมื่อทำงานที่ได้รับมอบหมายไม่เสร็จ


9.การที่เด็กเติบโตขึ้นและสามารถทำอะไรได้มากขึ้นเป็นเพราะอะไร
  ก. วุฒิภาวะและการเรียนรู้
  ข. สิ่งแวดล้อมและจิตใจ
  ค. การเรียนรู้และพันธุกรรม
  ง. วุฒิภาวะและสิ่งแวดล้อม

เฉลย ก. วุฒิภาวะและการเรียนรู้
อธิบาย

องค์ประกอบของพัฒนาการ

  1. วุฒิภาวะ หมายถึง
    • ความเจริญเติบโตทั้งร่างกายและจิตใจ พร้อมที่จะทำงานตามหน้าที่ได้มากขึ้น
    • ตัวอย่าง เด็กที่เกิดมาเมื่อเติบโตระดับหนึ่งจะสามารถ พูด หรือเดินได้โดยไม่ต้องอาศัยสิ่งเร้าใดๆ
  2. การเรียนรู้ หมายถึง
    • กระบวนการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมเดิมไปสู่พฤติกรรมใหม่ที่ค่อนข้างถาวร
    • พฤติกรรมใหม่นี้เป็นผลมาจากประสบการณ์หรือการฝึกฝน มิใช่เป็นผลจากการตอบสนองตามธรรมชาติหรือสัญชาตญาณ หรือวุฒิภาวะ จึงจะถือว่าเกิดการเรียนรู้ขึ้น
    • หากเป็นการเปลี่ยนแปลงชั่วคราวไม่ถือเป็นการเรียนรู้

10.การลองผิดลองถูกเป็นทฤษฎีการเรียนรู้ของใคร
  ก. ธอร์นไดค์
  ข. สกินเนอร์
  ค. พาฟลอฟ
  ง. จอห์น บี วัตสัน

เฉลย  ก. ธอร์นไดค์
อธิบาย
อ่านเพิ่มเติมได้ที่


 

บทสรุป

ข้อสอบครูผู้ช่วยชุดนี้จะเป็นแนวทางในการอ่านหนังสืออย่างดี เพราะหากสำหรับคนที่ยังไม่เคยเห็นหน้าตาของข้อสอบครูผู้ช่วยจริงๆ หรืออ่านแต่ในหนังสือของสำนักต่างๆที่นั่งเทียนออกข้อสอบขาย ก็จะเจอกับปัญหาใหญ่คือหลงทาง หลงประเด็น ไปงมอยู่แต่ส่วนเนื้อหาที่ไม่เคยออกข้อสอบ ถึงอ่านแล้วมั่นใจว่าตัวเองอ่านจนจำได้หมดถึงเวลาสอบจริง กลับทำไม่ได้และสุดท้ายสอบไม่ผ่าน หวังว่าข้อสอบจริงครุผู้ช่วยชุดนี้จะเป็นประโยชน์กับทางไม่มากก็น้อย


บทความอื่นที่เกี่ยวข้อง

สรุปจิตวิทยาการแนะแนว

สรุปจิตวิทยาการศึกษา