รัฐธรรมนูญ ,รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ,รัฐธรรมนูญ2560, สรุปรัฐธรรมนูญรัฐธรรมนูญ ,รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ,รัฐธรรมนูญ2560, สรุปรัฐธรรมนูญรัฐธรรมนูญ ,รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ,รัฐธรรมนูญ2560, สรุปรัฐธรรมนูญรัฐธรรมนูญ ,รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ,รัฐธรรมนูญ2560, สรุปรัฐธรรมนูญรัฐธรรมนูญ ,รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ,รัฐธรรมนูญ2560, สรุปรัฐธรรมนูญรัฐธรรมนูญ ,รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ,รัฐธรรมนูญ2560, สรุปรัฐธรรมนูญรัฐธรรมนูญ ,รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ,รัฐธรรมนูญ2560, สรุปรัฐธรรมนูญรัฐธรรมนูญ ,รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ,รัฐธรรมนูญ2560, สรุปรัฐธรรมนูญรัฐธรรมนูญ ,รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ,รัฐธรรมนูญ2560, สรุปรัฐธรรมนูญรัฐธรรมนูญ ,รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ,รัฐธรรมนูญ2560, สรุปรัฐธรรมนูญ
รัฐธรรมนูญ ,รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ,รัฐธรรมนูญ2560, สรุปรัฐธรรมนูญ

วันนี้ทาง บ้านของครู MR.KRON จะนำเสนอเนื้อหา รัฐธรรมนูญ ที่ต้องสอบครูผู้ช่วย ในส่วนนี้คือ เรื่องความรอบรู้ในส่วนของ ความรู้เกี่ยวกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย 2560 ซึ่งเป็นการสรุปให้ท่านได้นำความรู้ไปเพื่อสอบครูผู้ช่วย หรือสายงานอื่นที่จำเป็นต้องสอบ


สรุปรัฐธรรมนูญ2560

อำนาจอธิปไตย และความคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญ

อำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชนชาวไทย พระมหากษัตริย์ผู้ทรงเป็นประมุขทรงใช้อำนาจนั้นตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญทาง
– รัฐสภา
– คณะรัฐมนตรี
– ศาล

☐ รัฐสภา คณะรัฐมนตรี ศาล องค์กรอิสระ และหน่วยงานของรัฐ

ต้องปฏิบัติหน้าที่ให้เป็นไปตามรัฐธรรมนูญ กฎหมาย และหลักนิติธรรม เพื่อประโยชน์ส่วนรวมของประเทศชาติและความผาสุกของประชาชนโดยรวม

ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิ เสรีภาพ และความเสมอภาคของบุคคลย่อมได้รับความคุ้มครอง ปวงชนชาวไทยย่อมได้รับความคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญเสมอกัน

รัฐธรรมนูญ เป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ

– บทบัญญัติใดของกฎหมาย กฎหรือข้อบังคับ หรือการกระทำใด ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ บทบัญญัติหรือการกระทำนั้นเป็นอันใช้บังคับมิได้

– เมื่อไม่มีบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้บังคับแก่กรณีใด ให้กระทำการนั้นหรือวินิจฉัยกรณีนั้นไปตามประเพณีการปกครองประเทศไทย ในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข


หน้าที่ของปวงชนชาวไทย(รัฐธรรมนูญ2560)

มาตรา 50 บุคคลมีหน้าที่ ดังต่อไปนี้

(1) พิทักษ์รักษาไว้ซึ่งชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

(2) ป้องกันประเทศ พิทักษ์รักษาเกียรติภูมิ ผลประโยชน์ของชาติ และสาธารณสมบัติของแผ่นดินรวมทั้งให้ความร่วมมือในการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย

(3) ปฏิบัติตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด

(4) เข้ารับการศึกษาอบรมในการศึกษาภาคบังคับ

(5) รับราชการทหารตามที่กฎหมายบัญญัติ

(6) เคารพและไม่ละเมิดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลอื่น และไม่กระทำการใดที่อาจก่อให้เกิดความแตกแยกหรือเกลียดชังในสังคม

(7) ไปใช้สิทธิเลือกตั้งหรือลงประชามติอย่างอิสระโดยคำนึงถึงประโยชน์ส่วนรวมของประเทศเป็นสำคัญ

(8) ร่วมมือและสนับสนุนการอนุรักษ์และคุ้มครองสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติ ความหลากหลายทางชีวภาพ รวมทั้งมรดกทางวัฒนธรรม

(9) เสียภาษีอากรตามที่กฎหมายบัญญัติ

(10) ไม่ร่วมมือหรือสนับสนุนการทุจริตและประพฤติมิชอบทุกรูปแบบ


รัฐธรรมนูญ

หน้าที่ของรัฐ( รัฐธรรมนูญ2560 )

รัฐต้องดำเนินการให้เด็กทุกคน

– ได้รับการศึกษาเป็นเวลา 12 ปี ตั้งแต่ก่อนวัยเรียนจนจบการศึกษาภาคบังคับอย่างมีคุณภาพโดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย

รัฐต้องดำเนินการให้เด็กเล็ก

ได้รับการดูแลและพัฒนาก่อนเข้ารับการศึกษา

– เพื่อพัฒนาร่างกาย จิตใจ วินัย อารมณ์ สังคม และสติปัญญาให้สมกับวัย

– โดยส่งเสริมและสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและภาคเอกชนเข้ามีส่วนร่วมในการดำเนินการด้วย

รัฐต้องดำเนินการให้ประชาชน

– ได้รับการศึกษาตามความต้องการในระบบต่างๆ

– ส่งเสริมให้มีการเรียนรู้ตลอดชีวิต และ

– จัดให้มีการร่วมมือกันในการจัดการศึกษาทุกระดับระหว่าง รัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และภาคเอกชน

การศึกษาทั้งปวงต้องมุ่งพัฒนาผู้เรียน

– ให้เป็นคนดี มีวินัย ภูมิใจในชาติ

– สามารถเชี่ยวชาญได้ตามความถนัดของตน           

– มีความรับผิดชอบต่อครอบครัว ชุมชน สังคม และประเทศชาติ


แนวนโยบายแห่งรัฐ( รัฐธรรมนูญ2560 )

(ม.65) รัฐพึงจัดให้มียุทธศาสตร์ชาติ

เป็นเป้าหมายการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืนตามหลักธรรมาภิบาล

– เพื่อใช้เป็นกรอบในการจัดทำแผนต่างๆ ให้สอดคล้องและบูรณาการกัน

– เพื่อให้เกิดเป็นพลังผลักดันร่วมกันไปสู่เป้าหมาย                  


รัฐสภา

รัฐสภา ประกอบด้วย

– สภาผู้แทนราษฎร และวุฒิสภา

– รัฐสภาจะประชุมร่วมกันหรือแยกกัน ย่อมเป็นไปตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ

– บุคคลจะเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภาในขณะเดียวกันมิได้

– ประธานสภาผู้แทนราษฎร เป็นประธานรัฐสภา

– ประธานวุฒิสภา เป็นรองประธานรัฐสภา

ในกรณีที่ไม่มีประธานสภาผู้แทนราษฎร หรือประธานสภาผู้แทนราษฎรไม่อยู่หรือไม่สามารถ ปฏิบัติหน้าที่ประธานรัฐสภาได้

– ให้ประธานวุฒิสภาทำหน้าที่ประธานรัฐสภาแทน

ในระหว่างที่ประธานวุฒิสภาต้องทำหน้าที่ประธานรัฐสภา แต่ไม่มีประธานวุฒิสภา และเป็นกรณีที่เกิดขึ้นในระหว่างไม่มีสภาผู้แทนราษฎร

– ให้รองประธานวุฒิสภาทำหน้าที่ประธานรัฐสภา

– ถ้าไม่มีรองประธานวุฒิสภา ให้สมาชิกวุฒิสภาซึ่งมีอายุมากที่สุดในขณะนั้นทำหน้าที่ประธานรัฐสภาและให้ดำเนินการเลือกประธานวุฒิสภาโดยเร็ว


สภาผู้แทนราษฎร (รัฐธรรมนูญ2560)

(ม. 83) สภาผู้แทนราษฎรประกอบด้วยสมาชิกจำนวน 500 คน ดังนี้

– สมาชิกซึ่งมาจากการเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้งจำนวน 350 คน

– สมาชิกซึ่งมาจากบัญชีรายชื่อของพรรคการเมืองจำนวน 150 คน

(ม. 84) ในการเลือกตั้งทั่วไป

– เมื่อมีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรได้รับเลือกตั้งถึงร้อยละ 95 ของจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั้งหมดแล้ว หากมีความจำเป็นจะต้องเรียกประชุมรัฐสภาก็ให้ดำเนินการเรียกประชุมรัฐสภาได้

(ม. 85) สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรซึ่งมาจากการเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง

– ให้ใช้วิธีออกเสียงลงคะแนนโดยตรงและลับ โดยให้แต่ละเขตเลือกตั้งมีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรได้เขตละ 1 คน

– ผู้มีสิทธิเลือกตั้งมีสิทธิออกเสียงลงคะแนนเลือกตั้งได้คนละ 1 คะแนน

(ม. 87) ผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง

-ต้องเป็นผู้ซึ่งพรรคการเมืองที่ตนเป็นสมาชิกส่งสมัครรับเลือกตั้ง และจะสมัครรับเลือกตั้งเกินหนึ่งเขตมิได้

 -เมื่อมีการสมัครรับเลือกตั้งแล้ว ผู้สมัครรับเลือกตั้งหรือพรรคการเมืองจะถอนการสมัครรับเลือกตั้งหรือเปลี่ยนแปลงผู้สมัครรับเลือกตั้งได้เฉพาะกรณีผู้สมัครรับเลือกตั้งตายหรือขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้าม และต้องกระทำก่อนปิดการรับสมัครรับเลือกตั้ง

(ม. 88) ในการเลือกตั้งทั่วไป

-ให้พรรคการเมืองที่ส่งผู้สมัครรับเลือกตั้ง แจ้งรายชื่อบุคคล ซึ่งพรรคการเมืองนั้น มีมติว่าจะเสนอให้สภาผู้แทนราษฎร

-เพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรีไม่เกิน 3 รายชื่อต่อคณะกรรมการการเลือกตั้งก่อนปิดการรับสมัครรับเลือกตั้ง

-ให้คณะกรรมการการเลือกตั้งประกาศรายชื่อบุคคลดังกล่าวให้ประชาชนทราบ

(ม. 95) บุคคลผู้มีคุณสมบัติดังต่อไปนี้ เป็นผู้มีสิทธิเลือกตั้ง

      (1) มีสัญชาติไทย แต่บุคคลผู้มีสัญชาติไทยโดยการแปลงสัญชาติ ต้องได้สัญชาติไทยมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี

       (2) มีอายุไม่ต่ำกว่า 18 ปีในวันเลือกตั้ง

       (3) มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านในเขตเลือกตั้งมาแล้วเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 90 วันนับถึงวันเลือกตั้ง

(ม. 96) บุคคลผู้มีลักษณะดังต่อไปนี้ในวันเลือกตั้ง เป็นบุคคลต้องห้ามไม่ให้ใช้สิทธิเลือกตั้ง

      (1) เป็นภิกษุ สามเณร นักพรต หรือนักบวช

      (2) อยู่ในระหว่างถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งไม่ว่าคดีนั้นจะถึงที่สุดแล้วหรือไม่

      (3) ต้องคุมขังอยู่โดยหมายของศาลหรือโดยคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมาย

      (4) วิกลจริตหรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ

(ม. 97) คุณสมบัติของผู้มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร

– มีสัญชาติไทยโดยการเกิด

– มีอายุไม่ต่ำกว่า 25 นับถึงวันเลือกตั้ง

– เป็นสมาชิกพรรคการเมืองใดพรรคการเมืองหนึ่งแต่เพียงพรรคการเมืองเดียวเป็นเวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่า 90 วันนับถึงวันเลือกตั้ง Fเว้นแต่ในกรณีที่มีการเลือกตั้งทั่วไปเพราะเหตุยุบสภาระยะเวลา 90 วันดังกล่าวให้ลดลงเหลือ 30 วัน

ผู้สมัครรับเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง ต้องมีลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ด้วย

– มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านในจังหวัดที่สมัครรับเลือกตั้งมาแล้วเป็นเวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่า 5 ปีนับถึงวันสมัครรับเลือกตั้ง

– เป็นบุคคลซึ่งเกิดในจังหวัดที่สมัครรับเลือกตั้ง

– เคยศึกษาในสถานศึกษาที่ตั้งอยู่ในจังหวัดที่สมัครรับเลือกตั้งเป็นเวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่า 5 ปีการศึกษา

– เคยรับราชการหรือปฏิบัติหน้าที่ในหน่วยงานของรัฐ หรือเคยมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านในจังหวัดที่สมัครรับเลือกตั้ง แล้วแต่กรณี เป็นเวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่า 5 ปี

(ม. 99) อายุของสภาผู้แทนราษฎร

– มีกำหนดคราวละ 4 ปีนับแต่วันเลือกตั้ง

– ในระหว่างอายุของสภาผู้แทนราษฎร จะมีการควบรวมพรรคการเมืองที่มีสมาชิกเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมิได้

เมื่ออายุของสภาผู้แทนราษฎรสิ้นสุดลง

– พระมหากษัตริย์จะได้ทรงตราพระราชกฤษฎีกาให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรใหม่ เป็นการเลือกตั้งทั่วไปภายใน 45 วันนับแต่วันที่สภาผู้แทนราษฎรสิ้นอายุ

-การเลือกตั้ง ต้องเป็นวันเดียวกันทั่วราชอาณาจักร

(ม. 106) ภายหลังที่คณะรัฐมนตรีเข้าบริหารราชการแผ่นดินแล้ว

-พระมหากษัตริย์จะทรงแต่งตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรผู้เป็นหัวหน้าพรรคการเมืองในสภาผู้แทนราษฎรที่มีจำนวนสมาชิกมากที่สุด และสมาชิกมิได้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรี ประธานสภาผู้แทนราษฎร หรือรองประธานสภาผู้แทนราษฎรเป็นผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร

-ในกรณีที่พรรคการเมือง มีสมาชิกเท่ากัน ให้ใช้วิธีจับสลาก

-ให้ประธานสภาผู้แทนราษฎรเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการแต่งตั้งผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร

วุฒิสภา (รัฐธรรมนูญ2560)

วุฒิสภาประกอบด้วยสมาชิกจำนวน

       – 200 คน ซึ่งมาจากการเลือกกันเอง

สมาชิกวุฒิสภาต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้าม ดังต่อไปนี้

      >> คุณสมบัติ

          (1) มีสัญชาติไทยโดยการเกิด

          (2) มีอายุไม่ต่ำกว่า 40 ปีในวันสมัครรับเลือก

          (3) มีความรู้ ความเชี่ยวชาญ และประสบการณ์ หรือทำงานในด้านที่สมัครไม่น้อยกว่า 10 ปีหรือเป็นผู้มีลักษณะตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา

          (4) เกิด มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน ทำงาน หรือมีความเกี่ยวพันกับพื้นที่ที่สมัครตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา

      >> ลักษณะต้องห้าม

          (1) เป็นบุคคลต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิสมัครรับเลือกตั้ง

          (2) เป็นข้าราชการ

          (3) เป็นหรือเคยเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เว้นแต่ได้พ้นจากการเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปีนับถึงวันสมัครรับเลือก

          (4) เป็นสมาชิกพรรคการเมือง

          (5) เป็นหรือเคยเป็นผู้ดำรงตำแหน่งใดในพรรคการเมือง เว้นแต่ได้พ้นจากการดำรงตำแหน่งในพรรคการเมืองมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปีนับถึงวันสมัครรับเลือก

          (6) เป็นหรือเคยเป็นรัฐมนตรี เว้นแต่ได้พ้นจากการเป็นรัฐมนตรีมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปีนับถึงวันสมัครรับเลือก

          (7) เป็นหรือเคยเป็นสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น เว้นแต่ได้พ้นจากการเป็นสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่นมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปีนับถึงวันสมัครรับเลือก

          (8) เป็นบุพการี คู่สมรส หรือบุตรของผู้ดำรงตำแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภาข้าราชการการเมือง สมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น ผู้สมัครรับเลือกเป็นสมาชิกวุฒิสภาในคราวเดียวกันหรือผู้ดำรงตำแหน่งในศาลรัฐธรรมนูญหรือในองค์กรอิสระ

          (9) เคยดำรงตำแหน่งสมาชิกวุฒิสภาตามรัฐธรรมนูญนี้

อายุของวุฒิสภามีกำหนด

      – คราวละ 5 ปีนับแต่วันประกาศผลการเลือก


คณะรัฐมนตรี

พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีอื่นอีกประกอบเป็นคณะรัฐมนตรี

– ไม่เกิน 35 คน

– มีหน้าที่บริหารราชการแผ่นดินตามหลักความรับผิดชอบร่วมกัน

– ให้ประธานสภาผู้แทนราษฎรเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการแต่งตั้งนายกรัฐมนตรี

– นายกรัฐมนตรีจะดำรงตำแหน่งรวมกันแล้วเกิน 8 ปีมิได้ไม่ว่าจะเป็นการดำรงตำแหน่งติดต่อกันหรือไม่แต่มิให้นับรวมระยะเวลาในระหว่างที่อยู่ปฏิบัติหน้าที่ต่อไปหลังพ้นจากตำแหน่ง

ให้สภาผู้แทนราษฎรพิจารณาให้ความเห็นชอบบุคคลซึ่งสมควรได้รับแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรีจากผู้มีชื่ออยู่ในบัญชีรายชื่อของพรรคการเมืองที่มีสมาชิกได้รับเลือกเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร

– ไม่น้อยกว่าร้อยละ 5 ของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของสภาผู้แทนราษฎร

การเสนอชื่อนายกรัฐมนตรี

– ต้องมีสมาชิกรับรองไม่น้อยกว่าหนึ่งในสิบของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของสภาผู้แทนราษฎร

มติของสภาผู้แทนราษฎรที่เห็นชอบการแต่งตั้งบุคคลใดให้เป็นนายกรัฐมนตรี

– ต้องกระทำโดยการลงคะแนนโดยเปิดเผย

– มีคะแนนเสียงมากกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของสภาผู้แทนราษฎร

(ม. 160) รัฐมนตรีต้อง

(1) มีสัญชาติไทยโดยการเกิด

(2) มีอายุไม่ต่ำกว่า 35 ปี

(3) สำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า

(4) มีความซื่อสัตย์สุจริตเป็นที่ประจักษ์

(5) ไม่มีพฤติกรรมอันเป็นการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรมอย่างร้ายแรง

(6) ไม่มีลักษณะต้องห้าม

(7) ไม่เป็นผู้ต้องคำพิพากษาให้จำคุก แม้คดีนั้นจะยังไม่ถึงที่สุด หรือมีการรอการลงโทษเว้นแต่ในความผิดอันได้กระทำโดยประมาท ความผิดลหุโทษ หรือความผิดฐานหมิ่นประมาท

(8) ไม่เป็นผู้เคยพ้นจากตำแหน่งเพราะเหตุกระทำการอันเป็นการต้องห้าม มาแล้วยังไม่ถึง 2 ปีนับถึงวันแต่งตั้ง


ศาลยุติธรรม

ศาลยุติธรรม มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีทั้งปวง เว้นแต่คดีที่รัฐธรรมนูญหรือกฎหมายบัญญัติให้อยู่ในอำนาจของศาลอื่น

ให้มีแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองในศาลฎีกา

– โดยองค์คณะผู้พิพากษาประกอบด้วยผู้พิพากษาในศาลฎีกาซึ่งดำรงตำแหน่งไม่ต่ำกว่าผู้พิพากษาศาลฎีกาหรือผู้พิพากษาอาวุโสซึ่งเคยดำรงตำแหน่งไม่ต่ำกว่าผู้พิพากษาศาลฎีกาซึ่งได้รับคัดเลือกโดยที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาจำนวนไม่น้อยกว่า 5 คนแต่ไม่เกิน 9 คนโดยให้เลือกเป็นรายคดี

– ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ

– คำพิพากษาของศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ให้อุทธรณ์ต่อที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาได้ภายใน 30 วันนับแต่วันที่ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองมีคำพิพากษา

การบริหารงานบุคคลเกี่ยวกับผู้พิพากษาศาลยุติธรรมต้องมีความเป็นอิสระและดำเนินการโดยคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม ซึ่งประกอบด้วย

– ประธานศาลฎีกาเป็นประธาน

– กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งเป็นข้าราชการตุลาการในแต่ละชั้นศาล

– ผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งไม่เป็นหรือเคยเป็นข้าราชการตุลาการ บรรดาที่ได้รับเลือกจากข้าราชการตุลาการไม่เกิน 2 คน


ศาลปกครอง

ศาลปกครอง

– มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีปกครองอันเนื่องมาจากการใช้อำนาจทางปกครองตามกฎหมายหรือเนื่องมาจากการดำเนินกิจการทางปกครองให้มีศาลปกครองสูงสุดและศาลปกครองชั้นต้น

☐ การบริหารงานบุคคลเกี่ยวกับตุลาการศาลปกครอง ต้องมีความเป็นอิสระและดำเนินการโดยคณะกรรมการตุลาการศาลปกครองซึ่ง ประกอบด้วย

– ประธานศาลปกครองสูงสุด เป็นประธาน

– กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ซึ่งเป็นตุลาการในศาลปกครอง

– ผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งไม่เป็นหรือเคยเป็นตุลาการในศาลปกครองไม่เกิน 2 คน บรรดาที่ได้รับเลือกจากข้าราชการตุลาการศาลปกครอง


ศาลทหาร(รัฐธรรมนูญ2560)

ศาลทหาร

– มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีอาญาที่ผู้กระทำความผิดเป็นบุคคลซึ่งอยู่ในอำนาจศาลทหารและคดีอื่น

ศาลรัฐธรรมนูญ

ศาลรัฐธรรมนูญประกอบด้วยตุลาการศาลรัฐธรรมนูญจำนวน 9 คนซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งจากบุคคล ดังต่อไปนี้

แต่งตั้งจากผู้พิพากษาในศาลฎีกา ซึ่งดำรงตำแหน่งไม่ต่ำกว่าผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลฎีกามาแล้วไม่น้อยกว่า 3 ปี ซึ่งได้รับคัดเลือกโดยที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกา จำนวนสามคน

แต่งตั้งจากตุลาการในศาลปกครองสูงสุด ซึ่งดำรงตำแหน่งไม่ต่ำกว่าตุลาการศาลปกครองสูงสุดมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปีซึ่งได้รับคัดเลือกโดยที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครองสูงสุด จำนวน 2 คน

แต่งตั้งจากผู้ทรงคุณวุฒิ สาขานิติศาสตร์ ซึ่งได้รับการสรรหาจากผู้ดำรงตำแหน่งหรือเคยดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์ของมหาวิทยาลัยในประเทศไทยมาแล้วเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 5 ปี มีผลงานทางวิชาการเป็นที่ประจักษ์ จำนวน 1 คน

แต่งตั้งจากผู้ทรงคุณวุฒิ สาขารัฐศาสตร์หรือรัฐประศาสนศาสตร์ ซึ่งได้รับการสรรหาจากผู้ดำรงตำแหน่งหรือเคยดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์ของมหาวิทยาลัยในประเทศไทยมาแล้วเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 5 ปี มีผลงานทางวิชาการเป็นที่ประจักษ์ จำนวน 1 คน

แต่งตั้งจากผู้ทรงคุณวุฒิ ซึ่งได้รับการสรรหาจากผู้รับหรือเคยรับราชการในตำแหน่งไม่ต่ำกว่าอธิบดีหรือหัวหน้าส่วนราชการที่เทียบเท่า หรือตำแหน่งไม่ต่ำกว่ารองอัยการสูงสุดมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปีจำนวน 2 คน

ศาลรัฐธรรมนูญมีหน้าที่และอำนาจ ดังต่อไปนี้

(1) พิจารณาวินิจฉัยความชอบด้วยรัฐธรรมนูญของกฎหมายหรือร่างกฎหมาย

(2) พิจารณาวินิจฉัยปัญหาเกี่ยวกับหน้าที่และอำนาจของสภาผู้แทนราษฎร วุฒิสภา รัฐสภาคณะรัฐมนตรี หรือองค์กรอิสระ

(3) หน้าที่และอำนาจอื่นตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ

องค์กรอิสระ

คณะกรรมการการเลือกตั้ง(รัฐธรรมนูญ2560)

– ประกอบด้วยกรรมการจำนวน 7 คน

– พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งตามคำแนะนําของวุฒิสภา

>> กรรมการการเลือกตั้ง

– มีวาระการดำรงตำแหน่ง 7 ปีนับแต่วันที่พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้ง

– ให้ดำรงตำแหน่งได้เพียงวาระเดียว

ผู้ตรวจการแผ่นดิน

-มีจำนวน 3 คนซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งตามคำแนะนําของวุฒิสภา

-จากผู้ซึ่งได้รับการสรรหาโดยคณะกรรมการสรรหา

>> ผู้ตรวจการแผ่นดิน

– มีวาระการดำรงตำแหน่ง 7 ปีนับแต่วันที่พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้ง

– ให้ดำรงตำแหน่งได้เพียงวาระเดียว

คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ

– ประกอบด้วยกรรมการจำนวน 9 คน

– พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งตามคำแนะนําของวุฒิสภาจากผู้ซึ่งได้รับการสรรหาโดยคณะกรรมการสรรหา

>> กรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ

– มีวาระการดำรงตำแหน่ง  7 ปีนับแต่วันที่พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้ง

– ให้ดำรงตำแหน่งได้เพียงวาระเดียว

คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน ประกอบด้วย กรรมการจำนวน 7 คน พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งตามคำแนะนําของวุฒิสภา จากผู้ซึ่งได้รับการสรรหาโดยคณะกรรมการสรรหา

>> กรรมการตรวจเงินแผ่นดิน

-มีวาระการดำรงตำแหน่ง 7 ปีนับแต่วันที่พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งได้เพียงวาระเดียว

คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ประกอบด้วย กรรมการจำนวน 7 คน

– พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งตามคำแนะนำของวุฒิสภาจากผู้ซึ่งได้รับการสรรหา

>> กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ

– มีวาระการดำรงตำแหน่ง 7 ปีนับแต่วันที่พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้ง                                           

– ให้ดำรงตำแหน่งได้เพียงวาระเดียว

การปกครองส่วนท้องถิ่นใน รัฐธรรมนูญ

 ให้มีการจัดการปกครองส่วนท้องถิ่นตามหลักแห่งการปกครองตนเองตามเจตนารมณ์ของประชาชนในท้องถิ่น

การจัดตั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในรูปแบบใดให้คำนึงถึง

 – เจตนารมณ์ของประชาชนในท้องถิ่น

– ความสามารถในการปกครองตนเองในด้านรายได้ จำนวนและความหนาแน่นของประชากร และพื้นที่ที่ต้องรับผิดชอบ ประกอบกัน

องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

– มีหน้าที่และอำนาจดูแลและจัดทำบริการสาธารณะและกิจกรรมสาธารณะเพื่อประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่นตามหลักการพัฒนาอย่างยั่งยืน

– ส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการศึกษาให้แก่ประชาชนในท้องถิ่น

ข้อมูลอื่นๆ ที่ควรทราบใน รัฐธรรมนูญ

ผู้รับสนองพระราชโองการรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 คือ

–  พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร ตราไว้ ณ (ประกาศใช้เคยออกข้อสอบ)

– วันที่ 6 เมษายน พุทธศักราช 2560 และเริ่มใช้เป็นต้นมา***

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มีทั้งหมด

– 16 หมวด จำนวน 279 มาตรา  และ 1 บทเฉพาะกาล

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560  มี 16 หมวด

หมวด 1 บททั่วไปหมวด 9  การขัดกันแห่งผลประโยชน์
หมวด 2 พระมหากษัตริย์หมวด 10 ศาล
หมวด 3 สิทธิและเสรีภาพของปวงชนชาวไทยหมวด 11 ศาลรัฐธรรมนูญ
หมวด 4 หน้าที่ของปวงชนชาวไทยหมวด 12 องค์กรอิสระ
หมวด 5 หน้าที่ของรัฐหมวด 13 องค์กรอัยการ
หมวด 6 แนวนโยบายแห่งรัฐหมวด 14 การปกครองส่วนท้องถิ่น
หมวด 7 รัฐสภาหมวด 15 การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ
หมวด 8 คณะรัฐมนตรีหมวด 16 การปฏิรูปประเทศ

 หากคุณชอบในการสรุปของทางเรา อย่าลืมติดตามกันได้ที่ช่องทางด้านล่าง และหากคุณกำลังมองหาความรู้อื่นๆเช่น กฎหมายการศึกษาคุณสามารถเข้าไปรับชมได้ผ่านบทความอื่นๆ


หากคุณร่วมแลกเปลี่ยนเรามีกลุ่มตีแตกข้อสอบครูผู้ช่วย มีความลับแนวข้อสอบดีๆ ให้ฟรี

ตีแตก ข้อสอบครูผู้ช่วย MR.KRON

▶ ช่องทางการติดตาม

เพิ่มเพื่อน

📌 facebook บ้านของครู MR.KRON
📌 YOUTUBE บ้านของครู MR.KRON
📌 Line official