จุดสำคัญในพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก 2546 ที่ออกข้อสอบเป็นประจำจะมีอยู่ไม่กี่จุดซึ้ง ทางบ้านของครูได้ทำการสรุปให้ท่าน
จุดเน้นที่ 1 ผู้รักษาการพระราชบัญญัติ
>>ผู้รักษาการพระราชบัญญัตินี้ ได้แก่
1. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
2. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
3. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
4. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม
5. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม(เพิ่มใหม่จากพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่ 19) พ.ศ. 2562)
จุดเน้นที่ 2 นิยามศัพท์ที่ออกข้อสอบ
1. “เด็ก” หมายความว่า
– บุคคลซึ่งมีอายุต่ำกว่าสิบแปดปีบริบูรณ์ แต่ไม่รวมถึงผู้ที่บรรลุนิติภาวะด้วยการสมรส
2. “สถานรับเลี้ยงเด็ก” หมายความว่า
– สถานที่รับเลี้ยงและพัฒนาเด็กที่มีอายุไม่เกินหกปีบริบูรณ์ และมีจำนวนตั้งแต่หกคนขึ้นไป ซึ่งเด็กไม่เกี่ยวข้องเป็นญาติกับเจ้าของหรือผู้ดำเนินการสถานรับเลี้ยงเด็กดังกล่าว ทั้งนี้ ไม่รวมถึงสถานพยาบาลหรือโรงเรียนทั้งของรัฐและเอกชน
3. “สถานสงเคราะห์” หมายความว่า
– สถานที่ให้การอุปการะเลี้ยงดูและพัฒนาเด็กที่จำต้องได้รับการสงเคราะห์ ซึ่งมีจำนวนตั้งแต่หกคนขึ้นไป
จุดเน้นที่ 3คณะกรรมการคุ้มครองเด็ก
1. คณะกรรมการคุ้มครองเด็กแห่งชาติ จำนวน 25 คน
– ประธานกรรมการ คือรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
2. คณะกรรมการคุ้มครองเด็กกรุงเทพมหานคร
– ประธานกรรมการคือ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
3. คณะกรรมการคุ้มครองเด็กจังหวัด
– ประธานกรรมการ คือ ผู้ว่าราชการจังหวัด
จุดเน้นที่ 4 เด็กที่พึงได้รับการสงเคราะห์
>>เด็กที่พึงได้รับการสงเคราะห์ ได้แก่
1) เด็กเร่ร่อน หรือเด็กกำพร้า
2) เด็กที่ถูกทอดทิ้งหรือพลัดหลง ณ ที่ใดที่หนึ่ง
3) เด็กที่ผู้ปกครองไม่สามารถอุปการะเลี้ยงดูได้ด้วยเหตุใดๆ
4) เด็กที่ผู้ปกครองมีพฤติกรรมหรือประกอบอาชีพไม่เหมาะสม
5) เด็กที่ได้รับการเลี้ยงดูโดยมิชอบ
6) เด็กพิการ
7) เด็กที่อยู่ในสภาพยากลำบาก
8) เด็กที่อยู่ในสภาพที่จำต้องได้รับการสงเคราะห์ตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
จุดเน้นที่ 5 การคุ้มครองสวัสดิภาพเด็ก
>>เด็กที่พึงได้รับการคุ้มครองสวัสดิภาพ ได้แก่
(1) เด็กที่ถูกทารุณกรรม
(2) เด็กที่เสี่ยงต่อการกระทำผิด
(3) เด็กที่อยู่ในสภาพที่จำต้องได้รับการคุ้มครองสวัสดิภาพ
>>ที่เหลือเป็นเด็กที่พึงได้รับการสงเคราะห์
ใน 5 ประเด็นที่เราได้ทำการสรุปให้ท่านเป็นเนื้อหาในส่วนที่พบในข้อสอบจริงครูผู้ช่วยบ่อยครั้ง ซึ่งประเด็นอื่นๆนอกจากนี้ในตัวพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก 2546 ส่วนอื่นก็ไม่ควรละเลย ถ้าหากต้องการสอบได้อันดับที่ดีในการสอบครูผู้ช่วย
>>ช่องทางติดตามบ้านของครู
1. FacebooK บ้านของครู MR.KRON
4. กลุ่ม Facebook ตีแตกข้อสอบครูผู้ช่วย MR.KRON
5. เว็บคอร์สเรียน/แบบฝึกต่างๆ บ้านของครู.com