สรุปนักจิตวิทยาทางการศึกษา และนักจิตวิทยาการแนะแนวที่สำคัญ และมีการออกข้อสอบครูผู้ช่วยบ่อยครั้งในสนามสอบต่างๆในการสอบข้าราชการครู
1.จอห์น ดิวอี้
- ทฤษฎีที่เป็นที่ยอมรับของจอห์น ดิวอี้คือ “ทฤษฎีการเรียนรู้เชิงปฏิบัติ” (pragmatism) ซึ่งเป็นแนวคิดที่เน้นการเรียนรู้ผ่านประสบการณ์และการแก้ปัญหาในชีวิตจริง
- ทฤษฎีนี้จะกล่าวถึงความสำคัญของประสบการณ์และการแสวงหาความรู้ใหม่ๆ ผ่านการตั้งคำถาม แก้ปัญหา และการใช้ความคิดสร้างสรรค์ในการแก้ไขสถานการณ์ต่างๆ
- นอกจากนี้ เขายังมีทฤษฎีอื่นๆ เช่น “การเรียนรู้ผ่านการทำ” (learning by doing) ซึ่งเน้นการเรียนรู้ผ่านการปฏิบัติจริง และ “การเรียนรู้ตลอดชีวิต” (lifelong learning) ซึ่งเน้นความสำคัญของการเรียนรู้ตลอดชีวิตเพื่อพัฒนาตนเองในสังคมที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว
2. วุ้นท์(Wilhelm Wundt)
- เป็นบิดาของจิตวิทยาการทดลอง (experimental psychology)
- เขาได้เปิดแนวทางการวิจัยที่เน้นการใช้วิธีวิจัยทางการทดลองเพื่อศึกษาพฤติกรรมและกระบวนการทางจิตในสมองของมนุษย์
- การทดลองของเขาเป็นที่รู้จักในหลายๆ ด้าน เช่น การวัดความเร็วในการตอบสนอง (reaction time) การศึกษาการจดจำ (memory) และการทำงานของสมอง (brain function) เป็นต้น
- ผลงานของเขาได้เปลี่ยนแปลงทิศทางการศึกษาทางจิตวิทยาและได้ช่วยสร้างฐานข้อมูลที่เป็นประโยชน์ในการศึกษาทางจิตวิทยาต่อมา
3.ธอร์นไดค์(Thorndike)
ในทฤษฎีของธอร์นไดค์(Thorndike) มีกฎการเรียนรู้ 3 กฎที่เป็นที่ยอมรับด้วยกัน ได้แก่
1)กฎแห่งความพร้อม (Law of Readiness) ที่เน้นว่าการเรียนรู้จะเป็นไปได้ดีก็ต่อเมื่อผู้เรียนพร้อมที่จะเรียนรู้และอยู่ในสภาวะที่เหมาะสม
2)กฎแห่งการฝึกหัด (Law of Exercise) ที่เน้นว่าการฝึกฝนทำซ้ำๆ จะช่วยให้เกิดการจำได้ดี โดยการฝึกฝนนั้นจะต้องเหมาะสมกับวัตถุประสงค์และเป้าหมายการเรียนรู้
3)กฎแห่งผลที่พึงพอใจ (Law of Effect) ที่เน้นว่าผลการเรียนรู้ที่เป็นไปตามที่คาดหวังจะช่วยส่งเสริมให้ผู้เรียนมีแรงจูงใจในการเรียนรู้มากขึ้น โดยผลลัพธ์ที่ดีจะทำให้ผู้เรียนต้องการเรียนรู้เรื่องต่อไป ในทางตรงกันข้ามผลการเรียนรู้ที่ไม่ดีก็จะทำให้ผู้เรียนไม่อยากเรียนรู้เรื่องนั้นต่อไป
ดังนั้น ทฤษฎีของธอร์นไดค์เน้นการเรียนรู้แบบลองผิดลองถูก และเน้นความสำคัญของการสร้างแรงจูงใจในการเรียนรู้ผ่านผลลัพธ์ที่เป็นไปตามที่คาดหวัง
4.ซิกมุนด์ ฟรอย (Sigmund Freud)
เขาเป็นบิดาแห่งทฤษฎีจิตวิเคราะห์ (Psychoanalysis) และเป็นผู้นำกลุ่มจิตวิเคราะห์อธิบายว่า พลังงานจิตทำหน้าที่ควบคุมพฤติกรรมของมนุษย์ มี 3 ลักษณะ
1) จิตสำนึก คือ ภาวะจิตที่รู้ตัวอยู่ตลอดเวลา
2) จิตไร้สำนึก คือ จิตที่ไม่อยู่ในภาวะที่รู้ตัว ระลึกถึงไม่ได้
3) จิตใต้สำนึกหรือจิตกึ่งรู้สำนึก คือ รู้ตัวตลอดเวลา แต่ไม่แสดงออกในขณะนั้น
=> ฟรอยด์มีความเชื่อว่า ลักษณะจิตใจของบุคคลสามารถแบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ
- id คือ สันดานดิบแสดงออกโดยไม่สนใจเหตุผล คุณธรรม มุ่งแสวงหาความพอใจ
- Ego คือ การให้หลักเหตุผลตามความเป็นจริง ใช้ควบคุม id ได้ แต่ยังไม่ถึงขั้นดีที่สุด
- Super Ego คือ ตัวควบคุม id และ Ego คุณธรรมใจจิตใจสูงสุดที่พึงปรารถนา รู้ถูกผิด ดีชั่ว
5.เฟรดริค วิสเฮม เฟรอเบล (Friedrich Froebel)
เฟรดริค วิสเฮม เฟรอเบล ผู้นำการศึกษาอนุบาลที่ได้รับขนานนามว่าเป็น “บิดาการศึกษาปฐมวัย” ด้วยการพัฒนาโรงเรียนอนุบาลแห่งแรกขึ้นในประเทศเยอรมนีในปี ค.ศ. 1837 เป็นผู้ริเริ่มแนวคิดการจัดการศึกษาปฐมวัยให้เป็นไปอย่างมีรูปแบบ กำหนดให้มีการวางแผนการสอน มีหลักสูตรสำหรับการศึกษาปฐมวัย มีการฝึกหัดครู
รวมถึงการพัฒนาการสอนเด็กปฐมวัยด้วยการผลิตอุปกรณ์การสอน ที่เรียกว่า ชุดอุปกรณ์ และการจัดกิจกรรมสำหรับเด็กปฐมวัยที่เรียกว่า การงานอาชีพ
6.แฟรงค์ พาร์สันส์
แฟรงค์ พาร์สันส์เป็นศาสตราจารย์ชาวอเมริกัน นักปฏิรูปสังคม และปัญญาชนชาวอเมริกันได้รับการยกย่องอย่างกว้างขวางว่าเป็นบิดาของขบวนการแนะแนวอาชีพ
7.จอห์น บี วัตสัน (John B. Watson)
นักจิตวิทยาชาวอเมริกัน ได้นำเอาทฤษฎีของพาฟลอฟ มาเป็นหลักในการอธิบายผลงานของวัตสัน
ได้รับความนิยมจนได้รับการยกย่องว่าเป็น“บิดาของจิตวิทยาพฤติกรรมนิยม”ทฤษฎีของเขามีลักษณะในการอธิบายเรื่องการเกิดอารมณ์จากการวางเงื่อนไข(Conditioned emotion)