วันนี้ทาง บ้านของครู MR.KRON ได้สรุปจุดเน้น กฎหมายระเบียบกระทรวงศึกษาธิการให้ท่านได้อ่านเป็นประเด็นสำคัญ ที่เราได้เน้นไว้ให้ท่านแล้ว ขอบคุณที่ติดตามกันตลอดมาขอให้ได้บรรจุเร็ววัน อย่าลืมแชร์ให้เพื่อนๆด้วยจ้า
✎ ครูผู้ช่วยประเด็นที่ 1 ข้อมูลเบื้องต้นที่ควรทราบ
1. จัดระเบียบราชการกระทรวงศึกษาธิการ(ออกข้อสอบประจำ)
(1) ระเบียบบริหารราชการในส่วนกลาง
(2) ระเบียบบริหารราชการเขตพื้นที่การศึกษา
(3) ระเบียบบริหารราชการในสถานศึกษาของรัฐที่จัดการศึกษาระดับปริญญา ที่เป็นนิติบุคคลแต่ไม่รวมถึงการจัดการศึกษาที่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของกระทรวงอื่นที่มีกฎหมายกำหนดไว้เป็นการเฉพาะ
2. การกำหนดตำแหน่งและอัตราเงินเดือนของข้าราชการในกระทรวงศึกษาธิการ ให้คำนึงถึง
● คุณวุฒิ
● ประสบการณ์
● มาตรฐานวิชาชีพ
● ลักษณะหน้าที่ความรับผิดชอบ
● คุณภาพของงาน
3. ผู้รักษาการตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ 2547 คือ
● รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
✎ ครูผู้ช่วยประเด็นที่ 2 การจัดระเบียบบริหารราชการในส่วนกลาง
1. การแบ่งส่วนราชการในส่วนกลางของกระทรวงศึกษาธิการ

2. คำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ให้คณะกรรมการสภาการศึกษา
● มีกรรมการ จำนวน 41 คน
● มีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธาน
3. คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน(จำนวนไม่เกิน 27 คน )
● องค์ประกอบของคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน(จำนวนไม่เกิน 27 คน มีผู้ทรงคุณวุฒิเป็นประธาน) ประกอบด้วย
– กรรมการโดยตำแหน่งจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
– ผู้แทนองค์กรเอกชน
– ผู้แทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
– ผู้แทนองค์กรวิชาชีพ
– กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งมีจำนวนไม่น้อยกว่าจำนวนกรรมการประเภทอื่นรวมกัน
4. สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ จะจัดการศึกษาแทน หากเขตพื้นที่การศึกษา หรืออุดมศึกษาระดับที่ต่ำกว่าปริญญา จัดการศึกษาไม่ได้หรือไม่พร้อมจัดการศึกษาต่อไปนี้
1) การศึกษาสำหรับบุคคลที่มีความบกพร่อง
2) การศึกษานอกระบบหรือการศึกษาตามอัธยาศัย
3) การศึกษาสำหรับบุคคลที่มีความสามารถพิเศษ
4) การศึกษาทางไกล และการจัดการศึกษาที่ให้บริการในหลายเขตพื้นที่การศึกษา
5) การจัดการศึกษาระดับอุดมศึกษาระดับต่ำกว่าปริญญา แต่ไม่รวมถึงสถาบันวิทยาลัยชุมชนตามกฎหมายว่าด้วยสถาบันวิทยาลัยชุมชน
✎ ครูผู้ช่วยประเด็นที่ 3 การจัดระเบียบบริหารราชการเขตพื้นที่การศึกษา
1.การบริหารและการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานให้ยึดเขตพื้นที่การศึกษาโดยคำนึงถึง(ออกข้อสอบประจำ)
1) ระดับของการศึกษาขั้นพื้นฐาน
2) จำนวนสถานศึกษา
3) จำนวนประชากร
4) วัฒนธรรมและความเหมาะสมด้านอื่นด้วย
>>เว้นแต่การจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน ตามกฎหมายว่าด้วยการอาชีวศึกษา
2.ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการโดยคำแนะนำของสภาการศึกษา
– มีอำนาจประกาศในราชกิจจานุเบกษากำหนดเขตพื้นที่การศึกษา เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาและเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา
3. สถานศึกษาที่จัดการศึกษาขั้นพื้นฐานทั้งระดับประถมศึกษา และระดับมัธยมศึกษากำหนดให้สถานศึกษาแห่งนั้นอยู่ในเขตพื้นที่การศึกษาใด
– ให้ยึดระดับการศึกษาของสถานศึกษานั้นเป็นสำคัญ
– ตามที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดโดยคำแนะนำของคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
4. ให้จัดระเบียบบริหารราชการของเขตพื้นที่การศึกษา ดังนี้
1) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
2) สถานศึกษาที่จัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน
>>การแบ่งส่วนราชการภายในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาให้จัดทำเป็น
– ประกาศกระทรวง โดยคำแนะนำของคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
>> การแบ่งส่วนราชการภายใน สถานศึกษาที่จัดการศึกษาขั้นพื้นฐานให้เป็นไปตาม
– ระเบียบที่คณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษา
>>สถานศึกษาที่จัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน ตามเฉพาะที่เป็นโรงเรียนมีฐานะเป็นนิติบุคคล เมื่อมีการยุบเลิกสถานศึกษา
-ให้ความเป็นนิติบุคคลสิ้นสุดลง
>> คณะกรรมการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา (โอนเป็น กศจ.)และสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา มีอำนาจหน้าที่
อำนาจหน้าที่ |
---|
1.การกำกับดูแล จัดตั้ง ยุบ รวม หรือเลิกสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในเขตพื้นที่การศึกษา |
2.ประสาน ส่งเสริม และสนับสนุนสถานศึกษาเอกชนในเขตพื้นที่การศึกษา |
3.ประสานและส่งเสริมองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ให้สามารถจัดการศึกษาสอดคล้องกับนโยบายและมาตรฐานการศึกษา |
4.ส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการศึกษาของบุคคล ครอบครัว องค์กรชุมชน องค์กรเอกชน องค์กรวิชาชีพ สถาบันศาสนา สถานประกอบการ และสถาบันสังคมอื่นที่จัดการศึกษาในรูปแบบที่หลากหลายในเขตพื้นที่การศึกษา |
5. คำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 19/2560
>> เรื่อง การปฏิรูปการศึกษาในภูมิภาคของกระทรวงศึกษาธิการ กำหนดให้ยกเลิกการมีคณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษาและโอนอำนาจไปเป็นของคณะกรรมการศึกษาธิการจังหวัด (กศจ.)จำนวนไม่เกิน 15 คน
– ผู้ว่าราชการจังหวัด หรือรองผู้ว่าราชการจังหวัดที่ได้รับมอบหมาย เป็นประธานกรรมการ
6.คณะกรรมการสถานศึกษา
คณะกรรมการสถานศึกษา ประกอบด้วย | |
1) ผู้แทนผู้ปกครอง | ประธาน เป็นผู้ทรงคุณวุฒิ |
2) ผู้แทนครู | *ข้อควรระวัง จำไม่ว่า ไม่มีองค์กรเอกชน |
3) ผู้แทนองค์กรชุมชน | |
4) ผู้แทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น | |
5) ผู้แทนศิษย์เก่าของสถานศึกษา | |
6) ผู้แทนพระภิกษุสงฆ์ | |
7) ผู้แทนองค์กรศาสนาอื่นในพื้นที่ | |
8) ผู้ทรงคุณวุฒิ | |
>> ผู้บริหารสถานศึกษาเป็นกรรมการและเลขานุการของคณะกรรมการสถานศึกษา
>> ไม่ใช้บังคับแก่สถานพัฒนาเด็กปฐมวัยและศูนย์การเรียน
>> สถานศึกษาขนาดเล็ก (ไม่เกิน 300) ให้มี กรรมการสถานศึกษา 9 คน
>> สถานศึกษาขนาดใหญ่ (301 ขึ้นไป) ให้มี กรรมการสถานศึกษา 15 คน
– ผู้ทรงคุณวุฒิ โรงเรียนขนาดใหญ่มีได้ 6 คน โรงเรียนเล็กมีได้ 1 คน
– ผู้แทนองค์กรศาสนาอื่นในพื้นที่/ผู้แทนพระภิกษุสงฆ์ โรงเรียนขนาดใหญ่มีได้ 2 คนโรงเรียนเล็กมีได้ 1 คน
7.คณะกรรมการสถานศึกษา มีอำนาจและหน้า ที่ดังต่อไปนี้
(1) กำกับ ดูแลการบริหารงานบุคคลในสถานศึกษา
(2) เสนอความต้องการจำนวนและอัตราตำแหน่งของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาในสถานศึกษาเพื่อเสนอ กศจ. การศึกษาพิจารณา
(3) ให้ข้อคิดเห็นเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาในสถานศึกษาต่อผู้บริหารสถานศึกษา
(4) ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัตินี้ กฎหมายอื่น หรือตามที่ กศจ.มอบหมาย
>>สถานศึกษา จะให้มีรองผู้อำนวยการช่วยปฏิบัติราชการก็ได้
>>สถานศึกษา ใดที่ยังไม่สามารถปฏิบัติงานบางประการที่ได้รับมอบหมายได้ อาจขอให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาที่สังกัดเป็นผู้รับผิดชอบปฏิบัติงานเฉพาะอย่าง แทนเป็นการชั่วคราวได้
✎ ครูผู้ช่วยประเด็นที่ 4 การปฏิบัติราชการแทน
1. ให้กระจายอำนาจการบริหารและการจัดการศึกษาไปยัง คณะกรรมการเขตพื้นที่
การศึกษา (ยุบไปเป็น คณะกรรมการศึกษาธิการจังหวัด : กศจ.)และสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษาโดยตรง คือ
– ด้านวิชาการ ด้านงบประมาณ ด้านการบริหารงานบุคคล ด้านการบริหารทั่วไป
*****จำว่า วิ-มาณ-คล-ทั่ว
2. หลักการมอบอำนาจในการสั่ง การอนุญาต การอนุมัติ การปฏิบัติราชการ
– ผู้ดำรงตำแหน่งนั้นอาจมอบอำนาจให้ผู้ดำรงตำแหน่งอื่นปฏิบัติราชการแทนได้
– ให้คำนึงถึงความเป็นอิสระ การบริหารงานที่คล่องตัวในการจัดการศึกษาของสถานศึกษาและของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
การมอบอำนาจปฏิบัติราชการแทน |
---|
1 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ อาจมอบอำนาจให้ตามลำดับ |
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ |
ปลัดกระทรวง |
เลขาธิการ |
หัวหน้าส่วนราชการ ซึ่งดำรงตำแหน่งเทียบเท่าอธิการบดี |
ผู้ว่าราชการจังหวัด |
2 ปลัดกระทรวง อาจมอบอำนาจให้ตามลำดับดังต่อไปนี้ |
รองปลัดกระทรวง |
ผู้ช่วยปลัดกระทรวง |
เลขาธิการ |
หัวหน้าส่วนราชการซึ่งดำรงตำแหน่งเทียบเท่าอธิการบดี |
ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา |
ผู้อำนวยการสถานศึกษา |
ผู้ว่าราชการจังหวัด |
3 เลขาธิการ อาจมอบอำนาจให้ตามลำดับดังต่อไปนี้ |
รองเลขาธิการ |
ผู้ช่วยเลขาธิการ |
หัวหน้าส่วนราชการ ซึ่งดำรงตำแหน่งเทียบเท่าอธิการบดี |
ผู้อำนวยการสำนัก |
ผู้อำนวยการสำนักบริหารงานหรือผู้ดำรงตำแหน่งเทียบเท่า |
ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา |
ผู้อำนวยการสถานศึกษา |
ผู้ว่าราชการจังหวัด |
4 ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา อาจมอบอำนาจให้ตามลำดับดังต่อไปนี้ |
ข้าราชการในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา |
ผู้อำนวยการสถานศึกษา |
5 ผู้อำนวยการสถานศึกษาอาจมอบอำนาจให้ตามลำดับดังต่อไปนี้ |
ข้าราชการในสถานศึกษา |
**การมอบอำนาจให้ทำเป็นหนังสือ** |
3. การมอบอำนาจโดยชอบแล้ว ผู้รับมีหน้าที่ต้องรับมอบอำนาจนั้น
– จะมอบให้แก่ผู้ดำรงตำแหน่งอื่นต่อไปไม่ได้
4. กรณียกเว้น การมอบอำนาจให้แก่ ผู้ว่าราชการจังหวัด ท่านอาจจะมอบอำนาจต่อไปได้ ตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดินก็ได้
5. การมอบอำนาจของ ผู้ว่าราชการจังหวัด ให้แก่ รองผู้ว่าราชการจังหวัดหรือผู้ช่วยผู้ว่าราชการจังหวัด
– ให้แจ้งให้ผู้มอบอำนาจชั้นต้นทราบ
6. การมอบอำนาจของผู้ว่าราชการจังหวัด ให้แก่บุคคลอื่น นอกจาก รองผู้ว่าราชการจังหวัด หรือผู้ช่วยผู้ว่าราชการจังหวัด
– จะกระทำได้ต่อเมื่อได้รับความเห็นชอบจากผู้มอบอำนาจชั้นต้นแล้ว
7. ในการมอบอำนาจ ให้ผู้มอบอำนาจพิจารณาถึงการอำนวยความสะดวกแก่ประชาชน ความรวดเร็วในการปฏิบัติราชการ การกระจายความรับผิดชอบตามสภาพ ของตำแหน่งของผู้รับมอบอำนาจและ ผู้รับมอบอำนาจต้องปฏิบัติหน้าที่ที่ได้รับมอบอำนาจตาม วัตถุประสงค์ของการมอบอำนาจดังกล่าว
8. เมื่อได้มอบแล้ว ผู้มอบอำนาจ มีหน้าที่กำกับติดตามผลการปฏิบัติราชการ ของผู้รับ และให้มีอำนาจแนะนำและแก้ไขการปฏิบัติราชการของผู้รับมอบอำนาจได้
✎ ครูผู้ช่วยประเด็นที่ 5 การรักษาราชการแทน
1. กรณีไม่มีผู้ดำรงตำแหน่งดังต่อไปนี้ให้สั่งการมอบหมายรักษาการแทนตามลำดับ
ไม่มีผู้ดำรงตำแหน่ง |
---|
-> รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ(รมว.ศธ.) – รักษาราชการแทน รมว.ศธ. คือ 1) รมช.ศธ 2)ครม.มอบหมาย รมต.อื่น*** |
-> เลขานุการรัฐมนตรี – รักษาราชการแทน เลขานุการรมต.คือ 1) ผู้ช่วยเลขานุการรมต. 2) ข้าราชการในกระทรวง*** |
-> ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ – รักษาราชการแทน ปลัดศธ. คือ 1)รองปลัด 2) ข้าราชการในกระทรวงไม่ต่ำกว่าเลขาธิการ *** |
-> เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน(เลขาธิการ กพฐ.) – รักษาราชการแทน คือ 1) รองเลขาธิการ 2) ข้าราชการในกระทรวงเทียบเท่ารองเลขาธิการ *** |
-> ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา(ผอ.สพท.) – รักษาราชการแทน ผอ.สพท. คือ 1) รองผอ.สพท. 2) ข้าราชการในเขตไม่ต่ำกว่า ผอ.รร. *** |
-> ผู้อำนวยการสถานศึกษา (ผอ.สถานศึกษา)**** – รักษาราชการในตำแหน่ง ผอ.สถานศึกษา คือ 1) รองผอ.สถานศึกษา 2) ข้าราชการในสถานศึกษา*** ->คำสั่ง หัวหน้าคสช. ที่ 16/2560 โดยมาตรา 44 ให้ใช้คำว่ารักษาราชการในตำแหน่ง ซึ่งเปลี่ยนจากคำว่า |
2. ผู้รักษาราชการแทนมีอำนาจหน้าที่เช่นเดียวกับผู้ซึ่งตนแทน
3. ผู้ปฏิบัติราชการแทนมีอำนาจหน้าที่เช่นเดียวกับผู้ซึ่งมอบหมายหรือมอบอำนาจ
✎ครูผู้ช่วยประเด็นที่ 6 ข้อมูลที่ควรทราบเพิ่มเติม
1. ข้อมูลเบื้องต้น
– เกิดจากเกิดจากพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ 2542 หมวด 5 มาตรา 32
– ฉบับที่ 1 ประกาศในราชกิจจานุเบกษา 6 ก.ค. 2546 บังคับใช้วันถัดจากวันประกาศ
-ฉบับที่ 2 ประกาศในราชกิจจานุเบกษา 22 ธ.ค. 2553 บังคับใช้วันถัดจากวันประกาศ
– ฉบับที่ 3 ประกาศในราชกิจจานุเบกษา 1 พ.ค. 2562 บังคับใช้วันถัดจากวันประกาศ
2. ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ เหตุผลการประกาศ และแก้ไข
– ฉบับที่ 1/2546 คือ ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี
– ฉบับที่ 2/2553 คือ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี
– ฉบับที่ 3/2553 คือ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี
3.พระราชบัญญัตินี้มีจำนวน 5 หมวด 82 มาตรา 1 บทเฉพาะกาล
-หมวด 1 การจัดระเบียบบริหารราชการในส่วนกลาง
-หมวด 2 การจัดระเบียบบริหารราชการเขตพื้นที่การศึกษา
-หมวด 3 การจัดระเบียบบริหารราชการในสถานศึกษาของรัฐที่จัดการศึกษาระดับปริญญาที่เป็นนิติบุคคล (ไม่เคยออกข้อสอบของครูผู้ช่วย)
-หมวด 4 การปฏิบัติราชการแทน
-หมวด 5 การรักษาราชการแทน
☑ หากคุณร่วมแลกเปลี่ยนเรามีกลุ่มตีแตกข้อสอบครูผู้ช่วย มีความลับแนวข้อสอบดีๆ ให้ฟรี
✪ ตีแตก ข้อสอบครูผู้ช่วย MR.KRON
▶ ช่องทางการติดตาม

📌 facebook บ้านของครู MR.KRON
📌 YOUTUBE บ้านของครู MR.KRON
📌 Line official