การลาของข้าราชการ
การลาของข้าราชการ
- Advertisement -

สรุปการลาของข้าราชการ เพื่อให้ทราบข้อมูลสำคัญ ที่คนจะสอบครูผู้ช่วยควรต้องรู้ เพราะว่าในข้อสอบสนามต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น ครู สพฐ. รอบต่างๆ และครูสังกัดอื่นๆ มีโอากาสออกข้อสอบทั้งสิ้นเนื่องจาก ประเด็นนี้เคยออกข้อสอบจริงมาแล้วมากมาย

>> ข้าราชการทุกประเภทจะใช้ระเบียบการลาเดียวกันคือ ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการลาข้าราชการ พ.ศ.2555

 การลาของข้าราชการ มี 11 ประเภท

1.การลาป่วย

การขอลาป่วย

  • ให้เสนอหรือจัดส่งใบลาต่อผู้บังคับบัญชา ตามลําดับจนถึงผู้มีอํานาจอนุญาตก่อนหรือในวันที่ลา
  • หากจําเป็น จะจัดส่งใบลา ในวันแรกที่มาปฏิบัติราชการก็ได้
  • ในกรณีผู้ขอลามีอาการป่วยจนไม่สามารถจะลงชื่อในใบลาได้ จะให้ผู้อื่นลาแทนก็ได้ แต่เมื่อสามารถลงชื่อได้แล้ว ให้เสนอหรือจัดส่งใบลาโดยเร็ว

ระยะเวลาในการลาป่วย

  • การลาป่วยตั้งแต่ 30 วันขึ้นไป ต้องมีใบรับรองของแพทย์ซึ่งเป็นผู้ที่ได้ขึ้นทะเบียนและ รับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมแนบไปกับใบลาด้วย
  • การลาป่วยไม่ถึง 30 วัน ไม่ว่าจะเป็นการลาครั้งเดียวหรือหลายครั้งติดต่อกัน ถ้าผู้มีอํานาจ อนุญาตเห็นสมควร จะสั่งให้มีใบรับรองของแพทย์ประกอบใบลา หรือสั่งให้ผู้ลาไปรับ การตรวจจากแพทย์ของทางราชการเพื่อประกอบการพิจารณาอนุญาตก็ได้
  • ผู้ที่สามารถลาได้ไม่เกิน 60 วัน คือ การลาของข้าราชการในสถานศึกษาให้ผู้อำนวยการสถานศึกษา เป็นผู้อนุญาต และการลาของผู้อำนวยการสถานศึกษา โดยให้ผู้อำนวยการเขตพื้นที่การศึกษา เป็นผู้อนุญาต
  • ผู้ที่สามารถลาไม่เกิน 120 วันผู้อำนวยการขตพื้นที่การศึกษาทุกเขตในสังกัด

2.การลาคลอดบุตร

การขอลาคลอดบุตร

  • ให้เสนอหรือจัดส่งใบลาต่อผู้บังคับบัญชา ตามลําดับจนถึงผู้มีอํานาจอนุญาตก่อนหรือในวันที่ลา
  • หากไม่สามารถจะลงชื่อในใบลาได้ จะให้ผู้อื่น ลาแทนก็ได้ แต่เมื่อสามารถลงชื่อได้แล้ว ให้เสนอหรือจัดส่งใบลาโดยเร็ว โดยไม่ต้องมีใบรับรอง ของแพทย์

ระยะเวลาในการลาคลอดบุตร

  • ลาในวันที่คลอด ก่อน หรือหลังวันที่คลอดบุตรก็ได้ แต่เมื่อรวมวันลาแล้ว ต้องไม่เกิน 90 วัน(สำหรับข้าราชการในสถานศึกษา และในสำนักงนเขตพื้นที่กสรศึกษา)
  • ข้าราชการที่ได้รับอนุญาตให้ลาคลอดบุตรและได้หยุดราชการไปแล้ว แต่ไม่ได้คลอดบุตร ตามกําหนด หากประสงค์จะขอยกเลิกวันลาคลอดบุตรที่หยุดไป ให้ผู้มีอํานาจอนุญาตอนุญาตให้ยกเลิก วันลาคลอดบุตรได้ โดยให้ถือว่าวันที่ได้หยุดราชการไปแล้วเป็นวันลากิจส่วนตัว

3.การลาไปช่วยเหลือภริยาที่คลอดบุตร

การขอลาไปช่วยเหลือภริยาที่คลอดบุตร

  • ให้เสนอหรือจัดส่งใบลาต่อผู้บังคับบัญชาตามลําดับจนถึงผู้มีอํานาจอนุญาตก่อนหรือในวันที่ลาภายใน 90 วัน นับแต่วันที่คลอดบุตร

ระยะเวลาในการลาไปช่วยเหลือภริยาที่คลอดบุตร

  • ให้มีสิทธิลาไปช่วยเหลือภริยาที่คลอดบุตรครั้งหนึ่งติดต่อกันได้ ไม่เกิน 15 วันทําการ(สำหรับข้าราชการในสถานศึกษา และในสำนักงนเขตพื้นที่กสรศึกษา)

4.การลากิจส่วนตัว

การขอลากิจส่วนตัว

  • ให้เสนอหรือจัดส่งใบลาต่อผู้บังคับบัญชา ตามลําดับจนถึงผู้มีอํานาจอนุญาต และเมื่อได้รับอนุญาตแล้วจึงจะหยุดราชการได้
  • เว้นแต่มีเหตุจําเป็น ไม่สามารถรอรับอนุญาตได้ทัน จะเสนอหรือจัดส่งใบลาพร้อมระบุเหตุจําเป็นไว้ แล้วหยุดราชการไปก่อนก็ได้ แต่จะต้องชี้แจงเหตุผลให้ผู้มีอํานาจอนุญาตทราบโดยเร็ว
  • ในกรณีมีเหตุพิเศษที่ไม่อาจเสนอหรือจัดส่งใบลาก่อนได้ ให้เสนอหรือจัดส่งใบลา พร้อมทั้งเหตุผลความจําเป็นต่อผู้บังคับบัญชาตามลําดับจนถึงผู้มีอํานาจอนุญาตทันทีในวันแรก ที่มาปฏิบัติราชการ

ระยะเวลาในการลากิจส่วนตัว

  • ลาได้ไม่เกิน 30 วัน (สำหรับข้าราชการในโรงเรียน )
  • อำนาจการลา ไม่เกิน 45 วัน (ผอ.เขตพื้นที่ฯ สำหรับทุกตำแหน่งในสังกัด)

>>หากประสงค์จะลากิจส่วนตัวเพื่อเลี้ยงดูบุตร ให้มีสิทธิลาต่อเนื่องจากการลาคลอดบุตรได้ไม่เกิน 150 วันทําการ(ไม่มีสิทธิได้รับเงินเดือนระหว่างลา)

การลาของข้าราชการครู

5.การลาพักผ่อน

การขอลาพักผ่อน

  • ข้าราชการซึ่งประสงค์จะลาพักผ่อน ให้เสนอหรือจัดส่งใบลาต่อผู้บังคับบัญชา ตามลําดับจนถึงผู้มีอํานาจอนุญาต และเมื่อได้รับอนุญาตแล้วจึงจะหยุดราชการได้
  • การอนุญาตให้ลาพักผ่อน ผู้มีอํานาจอนุญาตจะอนุญาตให้ลาครั้งเดียวหรือหลายครั้ง ก็ได้ โดยมิให้เสียหายแก่ราชการ

ข้าราชการมีสิทธิลาพักผ่อนประจําปีในปีงบประมาณหนึ่งได้ 10 วันทําการ เว้นแต่ ข้าราชการดังต่อไปนี้ไม่มีสิทธิลาพักผ่อนประจําปีในปีที่ได้รับบรรจุเข้ารับราชการยังไม่ถึง 6 เดือน

  1. ผู้ซึ่งได้รับบรรจุเข้ารับราชการเป็นข้าราชการครั้งแรก
  2. ผู้ซึ่งลาออกจากราชการเพราะเหตุส่วนตัว แล้วต่อมาได้รับบรรจุเข้ารับราชการอีก
  3. ผู้ซึ่งลาออกจากราชการเพื่อดํารงตําแหน่งทางการเมืองหรือเพื่อสมัครรับเลือกตั้งแล้วต่อมา ได้รับบรรจุเข้ารับราชการอีกหลัง 6 เดือน นับแต่วันออกจากราชการ
  4. ผู้ซึ่งถูกสั่งให้ออกจากราชการในกรณีอื่น นอกจากกรณีไปรับราชการทหารตามกฎหมายว่าด้วยการรับราชการทหาร และกรณีไปปฏิบัติงานใดๆ ตามความประสงค์ของทางราชการ แล้วต่อมา ได้รับบรรจุเข้ารับราชการอีก

การสะสมวันลาพักผ่อน

ถ้าในปีใดข้าราชการผู้ใดมิได้ลาพักผ่อนประจําปี หรือลาพักผ่อนประจําปีแล้วแต่ไม่ครบ 10 วันทําการ ให้สะสมวันที่ยังมิได้ลาในปีนั้นรวมเข้ากับปีต่อๆ ไปได้ แต่วันลาพักผ่อนสะสมรวมกับ วันลาพักผ่อนในปีปัจจุบันจะต้องไม่เกิน 20 วันทําการ

สําหรับผู้ที่ได้รับราชการติดต่อกันมาแล้วไม่น้อยกว่า 10 ปี ให้มีสิทธินําวันลาพักผ่อนสะสม รวมกับวันลาพักผ่อนในปีปัจจุบันได้ไม่เกิน 30 วันทําการ

ข้าราชการที่ปฏิบัติหน้าที่ในสถานศึกษาไม่มีสิทธิลาพักผ่อน เพราะมีวันหยุดภาคการศึกษา เกินกว่าวันลาพักผ่อน

6.การลาอุปสมบทหรือการลาไปประกอบพิธีฮัจย์

การขอลาอุปสมบทหรือการลาไปประกอบพิธีฮัจย์

  • ข้าราชการซึ่งประสงค์จะลาอุปสมบทในพระพุทธศาสนา หรือข้าราชการที่นับถือ ศาสนาอิสลามซึ่งประสงค์จะลาไปประกอบพิธีฮัจย์ ณ เมืองเมกกะ ประเทศซาอุดีอาระเบีย ให้เสนอ หรือจัดส่งใบลาต่อผู้บังคับบัญชาตามลําดับจนถึงผู้มีอํานาจพิจารณาหรืออนุญาตก่อนวันอุปสมบท หรือก่อนวันเดินทางไปประกอบพิธีฮัจย์ไม่น้อยกว่า 60 วัน
  • ข้าราชการที่ได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ลาอุปสมบทหรือได้รับอนุญาต ให้ลาไปประกอบพิธีฮัจย์ จะต้องอุปสมบทหรือออกเดินทางไปประกอบพิธีฮัจย์ภายใน 10 วันนับแต่วันเริ่มลา และจะต้องกลับมารายงานตัวเข้าปฏิบัติราชการภายใน 5 วันนับแต่วันที่ลาสิกขา หรือวันที่เดินทางกลับถึงประเทศไทยหลังจากการเดินทางไปประกอบพิธีฮัจย์ ทั้งนี้ จะต้องนับรวมอยู่ ภายในระยะเวลาที่ได้รับอนุญาตการลา
  • ข้าราชการที่ได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ลาอุปสมบทหรือได้รับอนุญาตให้ลา ไปประกอบพิธีฮัจย์และได้หยุดราชการไปแล้ว หากปรากฏว่ามีปัญหาอุปสรรคทําให้ไม่สามารถอุปสมบท หรือไปประกอบพิธีฮัจย์ตามที่ขอลาไว้ เมื่อได้รายงานตัวกลับเข้าปฏิบัติราชการตามปกติและขอยกเลิกวันลา ให้ ถือว่าวันที่ได้หยุดราชการไปแล้วเป็นวันลากิจส่วนตัว

7. การลาเข้ารับการตรวจเลือกหรือเข้ารับการเตรียมพล

การขอลาเข้ารับการตรวจเลือกหรือเข้ารับการเตรียมพล

  • ข้าราชการที่ได้รับหมายเรียกเข้ารับการตรวจเลือก ให้รายงานลาต่อผู้บังคับบัญชา ก่อนวันเข้ารับการตรวจเลือกไม่น้อยกว่า 48 ชั่วโมง ส่วนข้าราชการที่ได้รับหมายเรียกเข้ารับการเตรียมพล ให้รายงานลาต่อผู้บังคับบัญชาภายใน 48 ชั่วโมงนับแต่เวลารับหมายเรียกเป็นต้นไป และให้ไปเข้ารับการตรวจเลือก นับแต่เวลารับหมายเรียกเป็นต้นไป และไม่ต้องรอรับ คําสั่งอนุญาต และให้ผู้บังคับบัญชาเสนอรายงานลาไปตามลําดับ
  • เมื่อข้าราชการที่ลานั้นพ้นจากการเข้ารับการตรวจเลือกหรือเข้ารับการเตรียมพลแล้ว ให้มารายงานตัวกลับเข้าปฏิบัติราชการตามปกติต่อผู้บังคับบัญชาภายใน 7 วัน

8.การลาไปศึกษา ฝึกอบรม ปฏิบัติการวิจัย หรือดูงาน

. ข้าราชการซึ่งประสงค์จะลาไปศึกษา ฝึกอบรม ปฏิบัติการวิจัย หรือดูงาน ในประเทศหรือต่างประเทศ ให้เสนอหรือจัดส่งใบลาต่อผู้บังคับบัญชาตามลําดับจนถึงหัวหน้าส่วนราชการ

  • ในประเทศ ผู้ที่อนุญาตให้ข้าราชการในโรงเรียน ลาประเภทนี้ได้ คือ ผู้อำนวยการสถานศึกษา
  • ต่างประเทศ เฉพาะกรณีดูงาน ผู้ที่อนุญาตให้ข้าราชการในเขตะื้นที่การศึกษา คือ ผู้อำนวยการเขตพื้นที่การศึกษา

9.การลาไปปฏิบัติงานในองค์การระหว่างประเทศ

. ข้าราชการซึ่งประสงค์จะลาไปปฏิบัติงานในองค์การระหว่างประเทศ ให้เสนอ หรือจัดส่งใบลาต่อผู้บังคับบัญชาตามลําดับจนถึงรัฐมนตรีเจ้าสังกัดเพื่อพิจารณาอนุญาต

. โดยถือปฏิบัติ ตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้ในพระราชกฤษฎีกาเกี่ยวกับการกําหนดหลักเกณฑ์การสั่งให้ข้าราชการไปทํา การซึ่งให้นับเวลาระหว่างนั้นเหมือนเต็มเวลาราชการ

. ข้าราชการที่ลาไปปฏิบัติงานในองค์การระหว่างประเทศที่มีระยะเวลาไม่เกิน 1 ปี เมื่อปฏิบัติงานแล้วเสร็จ ให้รายงานตัวเข้าปฏิบัติหน้าที่ราชการภายใน 15 วัน นับแต่วันครบ กําหนดเวลาและให้รายงานผลเกี่ยวกับการลาไปปฏิบัติงานให้รัฐมนตรีเจ้าสังกัดทราบภายใน 30 วัน นับแต่วันที่กลับมาปฏิบัติหน้าที่ราชการ

10.การลาติดตามคู่สมรส

. ให้เสนอหรือจัดส่งใบลาต่อผู้บังคับบัญชา ตามลําดับจนถึงปลัดกระทรวงหรือหัวหน้าส่วนราชการขึ้นตรง แล้วแต่กรณี เพื่อพิจารณาอนุญาตให้ลาได้ ไม่เกิน 2 ปี

. ในกรณีจําเป็นอาจอนุญาตให้ลาต่อได้อีก 2 ปี แต่เมื่อรวมแล้วต้องไม่เกิน 4 ปี ถ้าเกิน 4 ปีให้ลาออกจากราชการ

11.การลาไปฟื้นฟูสมรรถภาพด้านอาชีพ

. ข้าราชการผู้ใดได้รับอันตรายหรือการป่วยเจ็บเพราะเหตุปฏิบัติราชการในหน้าที่ หรือถูกประทุษร้ายเพราะเหตุกระทําการตามหน้าที่ จนทําให้ตกเป็นผู้ทุพพลภาพหรือพิการ หากข้าราชการผู้นั้นประสงค์จะลาไปเข้ารับการฝึกอบรมหลักสูตรเกี่ยวกับการฟื้นฟูสมรรถภาพที่จําเป็น ต่อการปฏิบัติหน้าที่ราชการ หรือที่จําเป็นต่อการประกอบอาชีพ แล้วแต่กรณี

>> มีสิทธิลาไปฟื้นฟู สมรรถภาพด้านอาชีพครั้งหนึ่งได้ตามระยะเวลาที่กําหนดไว้ในหลักสูตรที่ประสงค์จะลา แต่ไม่เกิน 12 เดือน

. การลาของข้าราชการครู ในส่วนนี้ใครที่กำลังสอบครูผู้ช่วยไม่ว่า จะเป็นสังกัดใดก็ตาม เชื่อว่า เจอในข้อสอบอย่างแน่นอน ขอให้โชคดี และอย่าลืม ติดตาม บทความอื่นๆ เช่น เทคนิคการสอบครูผู้ช่วย ข้อสอบครูผู้ช่วย เป็นต้น

Thumbnail Seller Link
ท้าชน 3 กฎหมายการศึกษา สำหรับครูผู้ช่วย
บ้านของครู MR.KRON
www.mebmarket.com
หนังสือ กฎหมายการศึกษา สำหรับครูผู้ช่วย เพื่อการสอบในปี 2566 ใช้ได้กับสังกัด สพฐ. หรือทุกสังกัดที่เกณฑ์การสอบรับราชการครู ในตำแหน่งครูผู้ช่วย หนังสือไ…
Get it now
เพิ่มเพื่อน
- Advertisement -